หมวดโอภาส ยอดมือปราบคดีพิศวง

 


จับกุมชายเมาแล้วขับ , รวมแก๊งค์ป้าเล่นป๊อกเด้ง , ตะครุบคนวิ่งราว , ช่วยตามหายายหลงทาง คดีเหล่านี้ล้วนถูกคลี่คลายมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่ถ้าคดีที่เกิดขึ้นไม่ใช่คดีธรรมดาอย่างที่เคยเป็น พยานอาจไม่ใช่คนที่มีลมหายใจ ที่เกิดเหตุอาจเคยเป็นแดนอาถรรพ์ของกลาง อาจเป็นสิ่งลี้ลับ หรือกระทั่งคนร้ายอาจเป็นสิ่งเหลือเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้! แล้วใครกัน? ที่จะมาคลี่คลายคดีพิศวงเหล่านั้น

ขอต้อนรับการกลับมาอีกครั้งของ หมวดโอภาส (เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี) ตำรวจหนุ่มสุดซื่อแต่ไฟแรง แห่งหน่วยงานสอบสวนและสนับสนุนคดีพิเศษ (ASI) ที่ครั้งหนึ่งระหว่างปฏิบัติภารกิจเกิดพลาดท่าล้มหัวฟาดกับศาลเจ้าที่สุดเฮี้ยน ..หลังจากนั้นเขาก็สัมผัสกับเรื่องประหลาด ทั้งมองเห็นวิญญาณ คุยกับกุมารและนอนข้าง ๆ ผีแม่ม่าย พอนานเข้า หมวดของเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องปกติ สิ่งที่เห็นอาจไม่มีอยู่จริง ความกลัวจึงผุดขึ้นสมองพร้อมกับเสียงร้องแต๋วแตกยิ่งกว่ากระจั๊วบินมาเกาะคอเสียอีก!

แต่เพราะคนมักว่ากับว่า ยิ่งกลัวสิ่งใดก็ยิ่งเจอสิ่งนั้น คราวนี้หมวดสุดบื้อของเราจึงต้องเข้าพัวพันกับคดีแปลก ๆ ที่ไม่มีตำรวจคนไหนกล้าลืม เพราะต้องมาเจอกับเรื่องพิศวงชวนให้หลับตาปี๋ หมวดโอภาส จึงต้องทำตาเขม็ง เกร็งขาไม่ให้สั่น กลั้นปัสสาวะไม่ให้เล็ด เพื่อปิดคดีให้สำเร็จตามคำสั่งของสารวัตรที่มอบคดีผี ๆ ให้เขาทำเป็นประจำ

ทำคดีผีว่าเสียวไส้ พอต้องมาไขคดีหัวใจ หมวดโอภาส ถึงกับร้องปวดตับ เพราะ บัวขวัญ (หนูนา-หนึ่งธิดา โสภณ) สาวมาดเท่ ทันสมัย ที่ไม่เชื่อเรื่องงมงาย แต่ต้องจำใจมาทำรายการเคเบิ้ลที่ผิดกับตัวตน พ่วงด้วย แก้ม (ต่อพงศ์ กุดอ่อน) ตากล้องที่คิดว่าตัวเองมีญาณพิเศษ บ้าคลั่งไสยศาสตร์ และอยากเจอผีเป็นที่สุด ซึ่งทั้งสองดันตกกระไดพลายโจนต้องมาถ่ายทำการสืบคดีของ หมวดโอภาส จึงต้องมาเจอกับผีตัวเป็น ๆ และหลอกกันจริง ๆ

และงานนี้ยังยากกว่าที่คิดเมื่อมี หมวดจอนนี่ (เผือก-พงศธร จงวิลาส) ตำรวจชื่อฝรั่งแต่ดันหน้าตี๋แถมชอบหลีสาว ๆ และเป็นผู้ที่มีความเชื่อทุกอย่างตรงข้ามกับ หมวดโอภาส หมวดจอนนี่จึงมักสรุปคดีโดยอาศัยหลักการและหลักฐาน ขณะที่ หมวดโอภาส มีผู้ช่วยเป็นไสยศาสตร์ล้วน ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจที่บัวขวัญจะปลาบปลื้มหมวดจอนนี่และร้องยี้ใส่หมวดจอมบื้อของเรา

มาร่วมคลี่คลายคดีพิศวงไปกับ หมวดโอภาส ที่แต่ละคดีทั้งวุ่น ทั้งยุ่งไปด้วยเหล่าผี ๆ มากหน้าหลายตา จนทำให้คุณต้องฮาจนขนลุกซู่ในทีวีซีรี่ส์ หมวดโอภาส ยอดมือปราบคดีพิศวง


รายชื่อนักแสดง หมวดโอภาส :
ฉันทวิชช์ ธนะเสวี รับบท หมวดโอภาส
หนึ่งธิดา โสภณ รับบท บัวขวัญ
พงศธร จงวิลาส รับบท จอนนี่
ต่อพงศ์ กุดอ่อน รับบท แก้ม

เจ้าสาวผมไม่ใช่ผี

 


เจ้าสาวผมไม่ใช่ผี เป็นเรื่องราวชีวิตนักเขียนการ์ตูน ของ ทศ นักเขียนการ์ตูนแนวผีสยองขวัญ ถูกเชิญให้มาร่วมท้าพิสูจน์ในรายการ กล้าพิสูจน์ พร้อมกับกลุ่มพิธีกรคือสำลี (นักจัดรายการวิทยุผีๆ),เชอรี่ นักแสดงชื่อดังที่ข่าวว่ามีซิกก์เซนท์สัมผัสที่6 ,จอห์นนี่ นักแสดงตลกที่มีความกล้าบ้าบิ่นชอบท้าพิสูจน์) และแขกรับเชิญคนอื่นๆ แม้จะกลัวผีโคตรๆแต่ด้วยอาชีพที่ต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องผีๆ ทำให้ทศตกลงใจที่จะไปร่วมกล้าพิสูจน์ กับทีมงาน

ที่บ้านร้างแห่งหนึ่งซึ่งถูกเลือกมาถ่ายทำรายการในครั้งนี้ มีประวัติอันน่ากลัวสยองขวัญว่าผู้หญิงท้องแก่คนหนึ่งถูกฆ่าตายอย่างทารุณ วิญญาณของเธอยังไม่ไปไหน แต่กลับมาปรากฏตัวให้ชาวบ้านแถบนั้นได้เห็นไม่ว่าในรูปของกลิ่นสาบสาง เสียงร้องไห้คร่ำครวญ หรือการมาปรากฏตัว เมื่อมีข้อมูลเช่นนี้ทีมงานกล้าพิสูจน์จึงได้เตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อทำการท้าพิสูจน์ ทั้งกล้องรังสีไวโอเลตความถี่สูงที่สามารถบันทึกภาพภูติผีวิญญาณ และอุปกรณ์จับผีซึ่งหากผีมาปรากฏตัวแม้ในรูปของวิญญาณ คลื่นความถี่ก็จะประมวลผลออกมาเป็นรูปภาพได้ ก่อนเริ่มรายการทุกคนได้พูดคุยกับชาวบ้านถึงความเฮี้ยนของผีสาว ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความเฮี้ยนน่ากลัว ทั้งกลิ่นสาปสาง เสียงร้องไห้คร่ำครวญ การมาปรากฏตัวให้เห็น นัยว่าวิญญาณผีสาวกำลังรอคอยการแก้แค้นคนที่ฆ่าเธอ เมื่อได้ยินกิตติศัพท์ความเฮี้ยนของผีสาว ตั้งแต่ยังไม่ก้าวเท้าเข้าบ้านทศก็กลัวจน

ขนหัวแทบลุกขึ้นตั้ง ครั้นจะถอนตัวทีมงานก็ไม่ให้ถอน ทศจึงต้องกัดฟันทำเป็นใจดีสู้ผีต่อไป ถึงเวลาถ่ายทำทีมงานได้บุกเข้าไปในบ้าน ตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าบ้านทุกคนก็ได้กลิ่นสาปสางเห็นรอยแห้งเกรอะกรังของคราบเลือด สภาพของบ้านที่ชวนสยดสยอง ซึ่งจู่ๆก็มีเสียงคนลากฝีเท้าขึ้นมาในบ้านรวมทั้งเสียงร้องไห้คร่ำครวญ การมาปรากฏตัวให้เห็น (ชายเสื้อแว่บๆ:การคิดไปเองของทีมงาน) แค่นั้นทุกคนก็เผ่นแน่บรวมทั้งทศ (ยกเว้นตากล้องที่ต้องวิ่งไปถ่ายไป)

แต่โชคไม่ดีที่ทศดันทำไฟฉายตกแตกจนวิ่งไปชนชั้นวางของที่มีรูปปั้นเซรามิคตุ๊กตาผู้หญิงวางอยู่จนแตกกระจาย ตอนนั้นทศไม่สนใจอะไรคิดเพียงอย่างเดียวที่จะวิ่งหนีผีให้สุดชีวิต

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า คน กับ ผี ดันมีหน้าตาเหมือนกัน และหนึ่งในนั้น ถูกลิขิตให้มาเป็น เจ้าสาว ของชายหนุ่มหน้าซื่ออารมณ์ดีโปรดติดตาม เรื่องรักโรแมนติค แต่สยองชวนขำ ที่จะทำให้ฮาจนน้ำตาเล็ด


รายชื่อนักแสดง เจ้าสาวผมไม่ใช่ผี :
ก้อง สรวิชญ์
น้ำฝน พัชรินทร์
ลิฟท์ สุพจน์
เจิน ณิชชาพัณณ์
ณิชชาพัณณ์ ชุนหะวงศ์วสุ
กัลยา เลิศเกษมทรัพย์
ปิยะมาศ โมนยะกุล
กพล ทองพลับ
จักรพันธ์ จันโอ

ลลิตา ปัญโญภาส

ลลิตา ปัญโญภาส (หมิว) เป็นลูกเสี้ยว เพราะมีคุณปู่เป็นคนอังกฤษ คุณพ่อเป็นลูกครึ่ง ไทย-อังกฤษ นามสกุล โชติรส แต่ะใช้นามสกุลของคุณแม่ จารุวรรณ ปัญโญภาส ในวงการบันเทิง 

ผลงานละคร

2524 สะใภ้สลัม

2525 สนิมสังคม
2526 เลือดขัตติยา
2527 บาปปรารถนา
2528 หกพี่น้อง
2529 ต้นส้มแสนรัก
2529 เหลือแต่รอยอาลัย


วนิดา

พันตรี ประจักษ์ มหศักดิ์ ถูกเชื้อเชิญจากเสด็จในวังให้ลงแข่งกีฬาขี้มาโปโล เพื่อให้ราชนิกูลชั้นสูง ได้มาลงแข่งขันเพื่อประลองกำลัง ฝีมือในการขี่ม้าโปโลของประจักษ์ เป็นที่โจษจั่นไปทั่วว่าเก่งกาจ เพราะเขาเป็นถึงหัวหน้าทหารม้ารักษาพระองค์ ซ้ำยังเป็นนักปราบม้าพยศตัวยงที่น่าจับตามอง   พิสมัย ว่าที่คู่หมั้นของประจักษ์และเป็นขุนข้าหลวงของสมเด็จ พิสมัยภูมิใจในตัวประจักษ์ยิ่งนัก ซ้ำยังชอบโอ้อวดว่าเธอกับประจักษ์ จะแต่งงานกันในเร็ววันนี้ อีกด้านหนึ่ง ไม่ใกล้ไม่ไกลกันนั้น วนิดา กำลัง หัดขับรถเป็นครั้งแรก เธอชวนเพื่อนซี้อย่าง สุมาลีและ กัลยา มานั่งรุเป็นเพื่อน ทั้งสิงสาวก็กลัวกันสุดขีดกรี๊ดกร๊าดไปตลอดทาง ทำ เอา วนิดาสะดุ้งเป็นระยะๆ พาจะเฉี่ยว ชน หลายรอบ ทันใดนั้นมีรถสวนออกมา วนิดาไม่เห็นเลยชนเข้าให้อย่างจัง และเจ้าของรถที่วนิดาก็คือ ประจักษ์ มหศักดิ์

วนิดา

นักแสดงละคร วนิดา

หมิว-ลลิตา ปัญโญภาส
ตั้ว-ศรัณยู วงศ์กระจ่าง รับบทเป็น ประจักษ์ มหศักดิ์

 

รักซ่อนแค้น

 


บทประพันธ์             ปณธี  ศุภศักดิ์สุทัศน์

บทโทรทัศน์            ปณธี  ศุภศักดิ์สุทัศน์
กำกับการแสดงโดย   ผิน  เกรียงไกรสกุล
ดำเนินงานโดย        อรพรรณ วัชรพล

ความรักที่เคยบริสุทธิ์ แปรเปลี่ยนเป็นไฟ
แห่งความแค้นที่พร้อมทำลายทุกอย่าง

15 ปีแห่งการรอคอย อันยาวนานของ ปภพ (ภัทรพล ศิลปาจารย์) ลูกชายของ ภูวดล (สันติสุข พรหมศิริ) เจ้าของธุรกิจโรงแรมชื่อดัง กำลังใกล้จะถึงจุดสิ้นสุด ไฟแค้นที่ลุกโชนในใจของเขาพร้อมจะแผดเผา ดวงใจ (พัณณ์ชยา สิทธิ์เศรษฐกุล) แม่ของ น้ำหนึ่ง (ณปภา ตันตระกูล) หญิงสาวสวยเชฟขนมในโรงแรมของพ่อ

น้ำหนึ่ง รอคอยการกลับมาของ ปภพ ด้วยความตื่นเต้น ดีใจที่จะได้พบกับ พี่ชายสุดที่รัก อีกครั้งหลังจากที่พวกเขาต้อง พลัดพรากจากกัน ไปตั้งแต่เด็ก แต่เธอก็ไม่รู้เลยว่า ชายหนุ่มที่เธอเฝ้ารอคอยนั้น กลับกลายเป็นคน เย็นชา ไร้หัวใจ และพร้อมจะ ทำลายชีวิต ของเธอ

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน

ภูวดล เพื่อนรักกับ มนตรี (ทนงศักดิ์ ศุภการ) สนิทกันจนยอม แลกชีวิต ให้กันได้ ทว่า โชคชะตาก็เล่นตลก เมื่อ มนตรี ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ภูวดลจึงรับอุปการะ ดวงใจ และ น้ำหนึ่ง ภรรยาและลูกสาวของมนตรี เข้ามาอยู่ในบ้าน

มิตรภาพ ค่อยๆ เปลี่ยนเป็น ความรักต้องห้าม ระหว่างภูวดลกับดวงใจ ภูวดลไม่อาจห้ามใจตัวเองไม่ให้รัก เมียเพื่อน ได้อีกต่อไป เขาใช้ กำลัง บังคับดวงใจจนกลายเป็นของเขา


ความลับ ถูกเปิดเผย ดุจดาว (จินตหรา สุขพัฒน์) ภรรยาของภูวดล เธอแทบ คลั่ง และพยายามจะขับไล่ดวงใจออกจากบ้าน แต่ก็ทำไม่ได้เพราะภูวดล ปกป้อง ดวงใจและน้ำหนึ่ง


ความแค้น ฝังรากลึกในใจของ ดุจดาว เธอแอบ นอกใจ ภูวดล ไปกับ มงคล (ปิยะ วิมุกตายน) เซลล์แมนหนุ่มนักพนัน ภูวดลโกรธแค้น สั่งคน ซ้อมมงคล จนเขาต้อง หนีหัวซุกหัวซุน ไป


ความเครียด ทำให้ดุจดาว สติแตก กลายเป็น คนบ้า น้ำหนึ่งดีใจที่ปภพกลับมา แต่ในใจก็เต็มไปด้วย ความสงสัย เพราะก่อนที่เขาจะไปเรียนเมืองนอก ปภพ ไม่ยอมพูด กับเธอ


งานเลี้ยงต้อนรับ ปภพถูกจัดขึ้น ทว่า เหตุการณ์ ไม่คาดฝัน ก็เกิดขึ้น ปภพพาดุจดาวมาร่วมงาน ดุจดาวเห็นดวงใจ ก็ อาละวาด ทำร้ายเธอ ปภพ นิ่งเฉย ไม่ห้ามปราม


ปริศนา มากมายรอการ คลี่คลาย ปภพมี แผนร้าย อะไรแอบแฝงอยู่? ดวงใจจะเอาชีวิตรอดจาก เงื้อมมือ ของดุจดาวได้หรือไม่? และ ความรัก ของน้ำหนึ่งกับปภพ จะมี จุดจบ อย่างไร?

ยามเมื่อลมพัดหวน


นางเอก (การบูร) เดินทางมาเที่ยวปารีสและลอนดอน ได้เจอกับพระเอก (ชง) ที่มารอรับแทนน้องชายนางเอก (พาที) ที่ประสบอุบัติเหตุ ความสัมพันธ์ของชงและการบูรเริ่มต้นด้วยความเข้าใจผิด เพราะนายพาทีตัวดีที่เป็นห่วงพี่สาวเกินเหตุ ทำให้ชงคิดว่าการบูรแต่งงานมีลูกแล้ว และการบูรคิดว่าชงเป็นเสือผู้หญิง แต่สองคนก็ค่อย ๆ ผูกพันด้วยความถูกตาต้องใจในกันและกัน โดยที่มีความเข้าใจผิดและความรู้สึกผิดติดอยู่ในใจของคนทั้งคู่ไปตลอดเรื่อง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไปใน ยามเมื่อลมพัดหวน

ผู้กำกับ ถกลเกียรติ วีรวรรณ

บทประพันธ์ วาณิช จรุงกิจอนันต์

บทโทรทัศน์ ผอูน จันทรศิริ

ดารานำแสดง 

เจตริน วรรธนะสิน

ลลิตา ปัญโญภาส

ร่วมด้วย

คัทรียา กาญจนโรจน์

เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์

ไพโรจน์ ใจสิงห์

นีรนุช ปัทมสูต

สมพล ปิยะพงษ์ศิริ

สุริวิภา กุลตังวัฒนา

ปริญญ์ วกรานต์

วสันต์ อุตตมะโยธิน

ศรัทธา ศรัทธาทิพย์

ดวงกมล ลิ่มเจริญ

วราพรรณ หงุ่ยตระกูล

ดารารับเชิญ 

สัญญา คุณากร

มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช

ขอแนะนำ แก๊งสติแตก

วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ (เต็ม)

กีรติ เทพธัญญ์ (เอ๊าะ)

ณรงค์ บุญลาภ (บอย)

และ ภูธเนศ หงษ์มานพ (กัปตัน)


ออกอากาศคืนวันศุกร์- เสาร์ เวลา 20.30-22.00 น. ทางช่อง 5

รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2531

 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2531 (ตุ๊กตาทอง) จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย โดยมีการประกาศผลเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ณ ห้องส่งใหญ่ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7



พิธีกร

ลิขิต เอกมงคล
สินจัย เปล่งพานิช

ดี๋ ดอกมะดัน
นาตยา แดงบุหงา

ปัญญา นิรันดร์กุล
ดวงตา ตุงคะมณี

รณ ฤทธิชัย
จารุณี สุขสวัสดิ์


สาขาผู้ได้รับรางวัลภาพยนตร์เรื่อง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไฟว์สตาร์โปรดักชั่นคู่กรรม
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยมสันติสุข พรหมศิริพ่อปลาไหล แม่พังพอน
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยมจินตหรา สุขพัฒน์คู่กรรม
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยมพิศาล อัครเศรณีพ่อปลาไหล แม่พังพอน
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยมมยุรา ธนะบุตรพ่อปลาไหล แม่พังพอน
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยมชาริยา รุ่งเรืองคนกลางเมือง
บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมชนะ คราประยูรทองประกายแสด
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสินี เต็มสงสัยพ่อปลาไหล แม่พังพอน
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยมพจน์ พจนาตลาดพรหมจารี
รางวัลลำดับภาพและตัดต่อยอดเยี่ยมวรางคนาง ณ มโนรมอุบัติโหด
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยมวีรพงษ์ ธาราศิลป์คู่กรรม
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมมะลิวัลย์ ด่านอุดมคู่กรรม
รางวัลแต่งหน้าและแต่งผมยอดเยี่ยมมนตรี วัดละเอียดตลาดพรหมจารี
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยมห้องบันทึกเสียงรามอินทราอุบัติโหด
เพลงประกอบยอดเยี่ยมบัตเตอร์ฟลายรักแรกอุ้ม
เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยมชาย มีคุณสุตคนกลางเมือง
พากย์ชายยอดเยี่ยมรอง เค้ามูลคดีคู่กรรม
พากย์หญิงยอดเยี่ยมนัยนา เพิ่มสุริยาความรัก
ตลกหญิงยอดเยี่ยมน้อย โพธิ์งามเรือมนุษย์
ดาราร้ายชายยอดเยี่ยมโกวิท วัฒนกุลตลาดพรหมจารี
ดาราร้ายหญิงยอดเยี่ยมอภิรดี ภวภูตานนท์คนกลางเมือง
ภาพยนตร์ยอดนิยมบริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่นบุญชู ผู้น่ารัก

รางวัลพิเศษ ตุ๊กตาเงิน

สาขาผู้ได้รับรางวัลภาพยนตร์เรื่อง
รางวัลพิเศษ “ตุ๊กตาเงิน” ดาวรุ่งฝ่ายชายวรุฒ วรธรรมคู่กรรม
รางวัลพิเศษ “ตุ๊กตาเงิน” ดาวรุ่งฝ่ายหญิงลลิตา ปัญโญภาสแรงเทียน

งานรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ครั้งที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2531




รอยรัก รอยฆาตกรรม

 


รอยรัก...รอยฆาตกรรม  แปลจากผลงานของ  อกาธา คริสตี้                       ราชินีแห่งนวนิยายสืบสวนสอบสวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก เจ้าของสถิตินักเขียนนวนิยายที่ขายดีที่สุดของโลกจาก     กินเนส บุ๊ค ออฟ เวิร์ล เรคอรดส์  
เมื่อคาโรลีน แครล   ซึ่งถูกขังคุกในคดีฆาตกรรมสามีตัวเองเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ได้เขียนจดหมายไปหา คาร์ล่า ลูกของเธอก่อนที่เธอจะตาย เพื่อบอกให้รู้ว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ์ คาร์ล่าจึงกลับมาสืบหาความจริง
ว่าใครกันแน่คือฆาตกร...!!!

"Agatha Christie's Go Back for Murder"
Go back for Murder © Agatha Christie Limited 1960. All rights reserved
AGATHA CHRISTIE Ò is a registered trade mark of Agatha Christie Limited in the UK and/or elsewhere. All Rights Reserved.

บทภาษาไทยโดย  :  ดารกา วงศ์ศิริ    
กำกับการแสดงโดย : สุวรรณดี จักราวรวุธ 

นำแสดงโดย   
รัญญา ศิยานนท์    วิทยา วสุไกรไพศาล    ศิรพันธ์ วัฒนจินดา   อลิสซาเบธ สิทธิเจริญยศ  
        วรวุฒิ   นิยมทรัพย์   กรุณพล เทียนสุวรรณ  เค็นเน็ธ  วัน    รฐา  โกกิลานนท์ 
                    รัชย์อาภาภัค ตันศิริวัลลภ   วีรพงษ์ ฟุ้งสันเทียะ

เปิดการแสดง วันที่ 5-7, 12-14 กรกฎาคม 2556   ณ เอ็มเธียเตอร์  ถ. เพชรบุรีตัดใหม่

















รอยรักรอยฆาตกรรม backstage

The Woman In Black




16-17-18, 23-24-25 กุมภาพันธ์


ดรีมบอกซ์ภูมิใจเสนอ ละครที่โด่งดังจากเวสต์เอนด์ เรื่องราวสยองขวัญที่ทำให้ผู้ชมขนหัวลุกมาแล้วทั่วโลก


The Woman In Black

เมื่อใดที่เธอปรากฎกาย หายนะจะตามมา

สามคนอลเวง รวมรุ่น วุ่นซะไม่มี Reunion




 สามคนอลเวง รวมรุ่น วุ่นซะไม่มี Reunion


วิวาห์คาบาเร่ต์

 


DREAM BOX เสนอ ละครเพลงเฮฮาประสาผู้ชายนะฮ้า


วิวาห์คาบาเร่ต์

La Cage Aux Folles


เมทะนี บุรณศิริ รับบท ดาวค้างฟ้า

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบท สามีของหล่อน


จากบทประพันธุ์ของ Jean Poiret 

กำกับการแสดง พรรณศักดิ์ สุขี


3 คู่ ชู้ทั้งน้าน..น

 


3 คู่ ชู้ทั้งน้าน..น


แสดง 2-3,9-10-16-17 มิถุนายน 2549

ศุกร์ รอบ 20.00 น.

เสาร์ รอบ 14.00 น. และ 20.00 น.

โรงละครกรุงเทพฯ Bangkok Theatre Metropolis


นักแสดง

นุ่น รุ้งทอง
เต๋า สโรชา
ตุ๊ก ชนกวนัน
เคลลี่ ธนพัฒน์
บ๊วย เชษฐวุฒิ
อั๋น วิทยา


คู่กรรม The Musical

 



ปี 2004

13-15 กุมภาพันธ์ ที่กาดเธียร์เตอร์ เชียงใหม่

18-21 มีนาคม ที่โรงละครกรุงเทพ 

25-28 มีนาคม ที่กาดเธียร์เตอร์ เชียงใหม่

ปี 2003

23 ตุลาคม -6 พฤศจิกายน

กุหลาบสีเลือด




กุหลาบสีเลือด

ผลงานละครเวทีของ ดรีมบอกซ์


บทละคร ดารกา วงศ์ศิริ

กำกับการแสดง สุวรรณดี จักราวรวุธ


นักแสดง

ปิยธิดา วรมุสิก

รินลณี ศรีเพ็ญ

พิมลรัตน์ พิศลยบุตร

ศศิธร พานิชนก

ดุจดาว วัฒนปกรณ์

สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์


ใครคือ เหยื่อ ใครคือ ฆาตกร

ละคร ปี พ.ศ. 2548

"ชายกลาง โศกนาฏกรรมในจังหวะแทงโก้" ที่ รัชดาลัย เธียเตอร์

ชายกลาง โศกนาฏกรรมในจังหวะแทงโก้" ที่ รัชดาลัย เธียเตอร์


อำนวยการผลิตโดย "ประภาส ชลศรานนท์" 

กำกับการแสดงโดย "ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม หรือ สังข์ 108 มงกุฏ  

นำแสดงโดย อุดม แต้พานิช, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, พรชิตา ณ สงขลา, ศรีริต้า เจนเซ่น และ นิธิ สมุทรโครจร


เรื่องมีอยู่ว่า

       ย้อนกลับไปเมื่อปีพุทธศักราช 2546 กลุ่มนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำละครเวทีประจำปีของคณะเรื่อง "ปริศนา" ซี่งเป็นละครย้อนยุคที่ว่าด้วยชีวิตของนักเขียนไส้แห้งผู้ยึดมั่นในงานเขียน แนวแสงสว่างที่ปลายถ้ำ แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เขาจำเป็นต้องหันเหแนวทางในการเขียนไปสู่นิยาย พาฝันอันมีตัวละครเอกชื่อ ปริศนา

       ละครเวทีแบบไทย ๆ ที่จับคาแรกเตอร์ตัวละครในนวนิยายไทยมายำรวมกับเรื่องนี้สร้างความประทับใจ ให้กับผู้ชมอย่างมาก ทั้งมุขตลกที่ยิงกราดกันอย่างไม่บันยะบันยัง บทละครที่โดดเด่นด้วยการผูกโยงเรื่องอย่างสลับซับซ้อน เทคนิควิธีการเล่าซึ่งไม่เคยถูกนำมาใช้กับละครเวทีมาก่อน และความซึ้งที่ถึงขั้นน้ำตาร่วง "ปริศนา" ได้รัลคำชมอย่างมากจากทั้งนักวิจารณ์และผู้ชม จนกลายเป็นอีกหนึ่งละครเวทีเรื่องที่ดีและน่าจดจำของวงการละครเวทีไทย

       3 ปีกว่าผ่านไปละครเวทีเรื่อง "ปริศนา" นำกลับมาทำใหม่อีกครั้งอย่างเต็มรูปแบบโดยทีมงานมืออาชีพ มีอุดม แต้พานิช มาแสดงนำ มีธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม (สังข์ 108 มงกุฏ) จากโต๊ะกลม มากำกับ และมีประภาส ชลศรานนท์ จากเวิร์คพอยท์ มาเป็นโปรดิวเซอร์ ดูแลภาพรวมของละครเวทีเรื่องนี้ทั้งหมด และ "ปริศนา ในตอนนั้น ถูกปรับชื่อเป็น "ชายกลาง" โศกนาฎกรรมในจังหวะแทงโก้ ในตอนนี้.....


ประภาส ชลศรานนท์

ผู้อำนวยการผลิต

       ประภาส ชลศรานนท์ นักคิดและนักเขียน ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานหลากหลายรูป แบบไม่ว่า จะเป็นการแต่งเพลง เขียนหนังสือ หรือสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์คุณภาพมากมาย ได้กล่าวถึงสาเหตุที่นำละครเวทีเรื่อง ปริศนา  มาสร้างใหม่ในชื่อ "ชายกลาง" ว่า  


       "ความคิด.....ผมชอบความคิดของละครเรื่องนี้


       ความคิดแรกที่ชอบก็คือ แก่นของเรื่อง ละครเรื่องนี้พูดถึงชีวิตของมนุษย์ที่มีสองโลกเสมอ ซึ่งมันตรงกับทุกยุคทุกสมัย ชีวิตจริงกับชีวิตในจินตนาการ แล้วละครเรื่องนี้ก็เอาความคิดเรื่องชีวิตในโลกสองโลกมาทำได้อย่างเซ็กซี่ มาก นั่นคือตัวละครแต่ละตัวมีโลกสองโลก แล้วสองโลกของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันเสียด้วย  บางคนสวยงาม บางคนแอบซ่อน บางคนรุนแรง


       ความคิดที่สองที่ผมชอบในละครเรื่องนี้ก็คือ ความคิดในการนำเสนอ ละครเรื่องนี้เป็นละครตลกแน่นอน แต่เป็นตลกอย่างที่เขาเรียกกันว่าตลกร้าย

หัวเราะกันท้องแข็งแทบทุกคนละครับ ละครถาปัดขึ้นชื่อเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจก็คือในขณะที่ท้องแข็งอยู่นี่บางทีก็อาจจะมีอะไรเป็นเสี้ยน ๆ ขม ๆ ตามมาให้สะท้อนใจอยู่ทีละนิดทีละหน่อยโดยตลอด

     

        นอกจากความเป็นตลกร้ายแล้ว ความคิดในการดำเนินเรื่องก็น่าสนใจมาก มันมีความเหนือจริงกับความสมจริงสลับไปสลับมา ถ้าเป็นรูปวาดก็ต้องบอกว่าสีจัดจ้านดีแท้ สิ่งที่คนดูจะได้รับกลับไปนั้นแน่นอนความสนุกแบบละครถาปัด ที่ทำให้คนดูหัวเราะคงมีอยู่อย่างครบถ้วน ผมค่อนข้างมั่นใจผู้กำกับสังข์และทีมโต๊ะกลม ยิ่งได้แรงบวกจากนักแสดงอาชีพทีมนี้ผมคิดว่ามันจะได้ส่วนผสมของละครเวทีที่ ลงตัวเรื่องหนึ่งทีเดียว ส่วนของแถมที่คนดูจะได้รับกลับไปนอกจากความสนุกก็คือ การได้กลับมาคำนึงถึงชีวิตตัวเองในขณะที่กำลังหัวเราะค้างอยู่ "


ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม (สังข์ 108 มงกุฏ)

ผู้กำกับ


         สังข์ 108 มงกุฏ ผู้กำกับอารมณ์ดีของละครเวทีเรื่องนี้ ได้บอกเล่าถึงสิ่งที่คาดว่าคนดูจะได้รับกลับไป นอกจากเสียงหัวเราะและความสนุกสนานหลังจากดู "ชายกลาง" ว่า


         "เป็นเรื่องการให้คุณค่าของอะไรบางอย่าง สิ่งที่เราคิดว่าไม่มีคุณค่าสำหรับเรา อาจมีค่ามากสำหรับคนอื่น การตีค่าอะไรบางอย่างเราไม่ควรใช้หลักเกณฑ์ของเราเป็นมาตรฐาน แก่นเรื่องนี้พูดถึงการค้นพบคุณค่าของสิ่งที่เขาเกลียด นักเขียนคนนี้ไม่ชอบนิยายน้ำเน่าแล้ว เขาก็ค้นพบว่าสิ่งที่เขาเกลียดมันก็มีแง่มุมที่ดีที่ทำให้คนอื่นมีความสุข


         นิยายน้ำเน่าดูว่าเป็นสิ่งที่ไร้สาระไม่มีประโยชน์อะไรกับใคร แต่จริง ๆ แล้วมันก็มีคุณค่าในตัวของมันเองมากด้วย ละครเวทีเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่สะท้อนภาพของยุคนี้ แต่เราเล่าผ่านยุคอดีตซึ่งยุคนั้นยังไม่มีคำว่าน้ำเน่าด้วยนะ แต่เราก็ใส่เข้าไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ตอนนั้นที่นิยายแบบนี้ออกมาใหม่ ๆ มันก็ไม่น้ำเน่านะ แต่พอมันทำแล้วทำอีก หลัง ๆ เราถึงมาเรียกว่า น้ำเน่า หรือว่าจริง ๆ แล้วขีวิตเราก็มีแค่นั้น เลยเขียนกันอยู่แต่แบบนี้"




เรื่องย่อชายกลาง

        สมชาย (อุดม แต้พานิช) นักเขียนไส้แห้ง ผู้พยายามสร้างงานเขียนที่แปลกและแตกต่าง เพื่อยกระดับสติปัญญาคนอ่าน เขารังเกียจนิยายแนวพาฝันเพราะว่ามันไม่สร้างสรรค์ และ "น้ำเน่า" ตรงกันข้ามกับพรหมพรภรณี (พรชิตา ณ สงขลา) ภรรยาของเขา ซึ่งเป็นลูกสาวผู้ดีมีสกุล ที่ยอมหนีมาใช้ชีวิตคู่กับนักเขียนไส้แห้ง เพราะเชื่อมั่นในความรัก เธอชื่นชอบนิยายแนวพาฝันมาก ไม่ต่างอะไรจากผู้คนส่วนมากในสังคมยุคนั้น

        แม้ว่าบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) จะให้โอกาสพิมพ์งานเขียนที่แปลกและแตกต่างของสมชายมาโดยตลอด แต่มันก็ไม่เคยขายได้เลย ฐานะของสมชายจึงแย่ลงเรื่อย ๆ ในที่สุดบรรณาธิการสำนักพิมพ์ก็บังคับให้สมชายเขียนนิยายเรื่องใหม่ในแนวพา ฝัน สมชายตัดสินใจเขียนนิยายเรื่องที่น้ำเน่าที่สุด รวบรวมเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ ตัวละครทุกตัวที่มีในนิยายน้ำเน่าเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น พระเอกผู้สูงศักดิ์ (นิธิ สมุทรโคจร) นางเอกผู้ต่ำต้อย  (ศรีริต้า เจนเซ่น) ตัวอิจฉาริษยาออกนอกหน้า (อัฐมา ชีวนิชพันธ์) หม่อมแม่ผู้ให้ท้าย (พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา) และเรื่องราวเกี่ยวกับมรดกพินัยกรรม


       นิยายเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่ตอนแรกที่พิมพ์ออกวางขาย จนสมชายต้องรีบเขียนตอนต่อ ๆ มาโดยเร็ว แต่ยิ่งเขียนออกมามากเท่าไหร่ สมชายก็ยิ่งรู้สึกว่าเขาได้ทรยศต่ออุดมการณ์เดิมของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น เรื่องราวดำเนินไปโดยแบ่งเป็นโลกชีวิตจริงของสมชาย สลับกับโลกในฝั่งของนิยายเรื่องที่สมชายเขียนขึ้นซึ่งเต็มไปด้วยความสุข ความสวยงาม และความเพ้อฝัน


  แต่แล้วเรื่องราวที่ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้นกับโลกทั้ง 2 ใบ....



    บทนำ                            นี่คือสถานแห่ง.....


    องก์ที่ 1  

       

                         ฉาก  1       โลกคือละคร

                         ฉาก  2       ทุกตอนต้องแสดง ทุกคนเป็นไป

                         ฉาก  3       พรหมลิขิตบันดาลชักพา ดลให้มาพบกันทันใด

                         ฉาก  4       เงิน เงิน เงิน ผู้คนบูชา

                         ฉาก  5       หากเป็นหนี้แล้ว ขอให้เป็นหนี้รักเถิด

                         ฉาก  6       หากฉันเพ่งมอง ตาเธอให้ลึกหน่อย

                         ฉาก  7       อย่าเห็นฉันเป็นสนามอารมณ์

                         ฉาก  8       สุขกันเถิดเรา เศร้าไปทำไม


    องก์ที่ 2

                         ฉาก  9       รักเหมือนโคถึกที่คึกพิโรธ

                         ฉาก 10      เจ็บแค้นเคืองโกรธ โทษฉันไย

                         ฉาก 11      รักเอย จริงหรือที่ว่าหวาน

                         ฉาก 12      ยับในทรวงเขาล้วงอก

                         ฉาก 13      ฆ่าฉัน ฆ่าฉัน ให้ตายดีกว่า

                         ฉาก 14      บทบาทบางตอนชีวิตยอกย้อนยับเยิน

                         ฉาก 15      วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก

                         ฉาก 16      ขอพบพานพิศวาส ทุกชาติไป



โลกคือละคร


 อุดม แต้พานิช

รับบท สมชาย นักเขียนไส้แห้ง

 นักเขียนจน ๆ กินอุดมการณ์เป็นอาหาร

 รังเกียจนิยายแนวพาฝัน

จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ยกระดับจิตใจผู้คนด้วยงานเขียนเชิงปรัชญา


      "เหตุผลหนึ่งที่ผมอยากเล่นเรื่องนี้ก็เพราะตอนดู"ปริศนา"

มันตลกมากยิงมุขกันตู้ม ๆ ๆ ไม่ทันได้โงหัวน่ะ รู้จักนักมวยชื่อปาเกียว

หรือเปล่า มันบุกแบบนั้นเลย ตู้ม ๆ ๆ จบองก์แรก มาอีกแล้ว ตู้ม ๆ ๆ

จบสวยด้วยน็อคเลย ผมชอบคาแรกเตอร์ตัวละครในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น

หม่อมแม่ ตัวอิจฉา ที่เอาคาแรกเตอร์ในละครไทยมาล้อเลียน เสียดสี

มันล้อเลียนละครน้ำเน่าได้ขำมาก สุดท้ายเรื่องน้ำเน่าก็คือชีวิตจริง

ของเรานี่แหละในบางส่วนบางมุม เรียกว่าเป็นน้ำเน่าซ้อนน้ำเน่า"



นิรุตติ์ ศิริจรรยา

รับบท บ.ก.วิทิต

  เจ้าของสำนักพิมพ์ที่พิมพ์แต่นิยายแนวพาฝัน เน้นยอดขายเป็นอันดับแรก

   เป็นคนที่คอยมาบงการชีวิตของสมชายให้ทำโน้นทำนี่ จุดหมายสูงสุดคือ

         ต้องการให้สมชายเขียนแนวพาฝันเหมือนคนอื่นบ้าง จะได้ขายดี


         "สมัยที่ผมเข้ามาเล่นละครใหม่ ๆ เมื่อประมาณปี 2514 ก็เป็น

การแสดงกับกล้องโทรทัศน์ 3 ตัว กับผู้ชมที่อยู่ในห้องส่งบ้าง แล้วก็เล่นกันสด ๆ

ก็รุ้สึกว่ามีอารมณ์คล้ายละครเวทีเหมือนกัน มาได้แสดงละครเวทีจริง ๆ ครั้งแรก

ตอนเปิดศูนย์วัฒนธรรมฯ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วครับผม "ชายกลาง"

นี่ก็เป็นการกลับมาเล่นละครเวทีอีกครั้งของผม"



ศรีริต้า เจนเซ่น

รับบท ปริศนา

นางเอกในนวนิยานที่สมชายเขียน หญิงสาวนักเรียนนอก แก่นเซี้ยว

น่ารัก ไม่กลัวใคร จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าท่านชาย

ไม่ใช่คนดีอย่างที่ทุกคนเห็น เธอจะได้ไม่ต้องแต่งงานกับท่านชาย


   "ริต้าไม่เคยเล่นละครเวทีมาก่อนค่ะ ถือว่ายากมาก ๆ มันยากเรื่องจังหวะ

เรื่องเสียงที่ต้องดังมาก ๆ และชัดถ้อยชัดคำ ก็ต้องมาฝึกเรื่องเสียงเป็นพิเศษ บทที่ริต้าได้รับก็เป็นผู้หญิงแก่นแก้ว กล้าเถียง เป็นนักเรียนนอก ไม่ไกลตัวเกินไป

แต่บางฉากเราต้องเสียดสีตัวละครที่เราเคยเล่นมาด้วย เป็นบทนางเอกที่ไม่ปกตินะคะ (หัวเราะ)


    ทุกประเทศชอบบริโภคนิยายน้ำเน่านะคะ ชอบความโศกเศร้าทุกข์ระทม

มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ริต้าคิดว่ามันอยู่ที่ทัศนคติของผู้บริโภคค่ะ อย่างเราดูแล้วยังชอบ ที่ได้ปล่อยอารมณ์ ได้ร้องไห้ตามตัวละคร มันทำให้เราลืมชีวิตจริงไปชั่วขณะค่ะ"



พรชิตา ณ สงขลา

 รับบท พรหมพรภรณี (เมียนักเขียน)

              หญิงสาวแสนดีจากครอบครัวคหบดี บูชาความรักสุดหัวใจ

         ถูกตัดจากกองมรดกเพราะหนีมาอยู่กินกับนักเขียนจน ๆ

  จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ อยู่กับสามีอย่างมีความสุข


       "พอรู้ว่าเรื่องนี้จะได้เล่นกับพี่โต้ต เล่นกับอาหนิง แล้วเคยเป็นละครถาปัดมาก่อน ก็คิดว่าน่าเล่นมาก ๆ ค่ะ เคยไปดูละครถาปัดแล้วชอบ อีกอย่างนึงคือ การแสดงละครเวทีเลยเหมือนเป็นครูของเบนซ์มาก ๆ เพราะมันคือการฝึกฝนการแสดงชั้นดี ที่ทำให้เรามีพลังมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น เพราะมันต้องเล่นทีเดียวจบ ไดยไม่มีคำว่าเทคหรือคัท คุณจะผิด คุณก็ต้องแก้ไขสถานการณ์เอาเอง

มันคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นเฉพาะหน้า  คนดูแต่ละรอบก็ไม่เหมือนกัน เราเล่นเองแต่ละรอบก็ไม่เหมือนเดิม  นี่แหละคือเสน่ห์ของละครเวที ที่หาไม่ได้จากการเล่นหนังหรือละครทีวีทั่วไป  มันทำให้เราต้องตั้งใจต้องมานั่งทบทวนว่าทำไมวันนี้เล่นแล้วคนดูมัน ไม่ขำเลย รอบหน้าจะทำยังไงให้มันขำกว่านี้ มันต้องมีวิธีต่าง ๆ เพื่อที่จะรู้ว่า เราต้องทำอะไรต่อไป เบนซ์ว่าตัวละครหลาย ๆ ตัวที่เราเคยเจอหรือเคยเล่นมันเหมือนชีวิตจริงของหลาย ๆ คนนะ บางทีชีวิตจริงน้ำเน่ากว่าในละครก็มีค่ะ



 นิธิ สมุทรโคจร

รับบทท่านชาย

พระเอกในนิยายที่สมชายเขียน หล่อ ซื่อ จนเหมือนโง่

     จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ ตามหาความรักที่แท้จริงจากหญิงสาวผู้ไม่ได้หวัง

ในทรัพย์ศฤงคารจากตัวเขา


       "ผมว่าไม่มีอะไรน้ำเน่า คนเป็นคนตัดสินเองว่าอะไรน้ำเน่า"


เนื้อเพลง


เพลง      ดั่งนิยาย

เนื้อร้อง   ชัชวาล วิศวบำรุงชัย

ทำนอง   ชัชวาล วิศวบำรุงชัย

ขับร้อง    (เบน) ชลาทิศ ตันติวุฒิ


หากเปรียบชีวิตเป็นดังนิยาย

เรื่องราวหลากหลายนั้นใครกำหนดมา

ให้สุขให้ทุกข์คงเป็นลิขิตจากฟ้า

ให้วันเวลาหมุนไป


หากชีวิตฉันเป็นดั่งนิยายเรื่องหนึ่ง

ไม่อยากแสดงถึงตอนสุดท้าย

เมื่อในวันนี้ฉันไม่มีเธอข้างกาย

ต้องอยู่เดียวดาย อย่างนี้


ได้โปรดเถิดฟ้า เมตตาฉันที ได้ไหม

แม้รู้ว่าฉันไม่อาจ จะดึงเธอไว้

ให้โอกาสฉัน แค่เพียงเศษวินาทีสุดท้าย

จะกอดเธอไว้แนบกาย ก่อนจะสายไป



เพลง     โลกใบนั้น

เนื้อร้อง  ประภาส ชลศรานนท์

ทำนอง   ประภาส ชลศรานนท์

ขับร้อง    (เบนซ์) พรชิตา ณ สงขลา


หนึ่งชีวิต หนึ่งมนุษย์

หนึ่งความขมขื่นเท่านั้น

ความจริงจึงเหยียดเย้ยหยัน

เพราะมองมันซ้ำซากเวียนวน

ตั้งคำถาม กับความเหงา

ไม่มีเสียงตอบสักหน

จึงยอมปลอมแปลงตัวตน

เขียนนิยายไว้กล่อมตัวเอง สร้างโลกใหม่


ที่มีเจ้าหญิงและเจ้าชาย

มีผุ้ร้ายและมีเรื่องราว

ที่รายล้อมด้วยรักและความสุขสม

เกิดตัวตนในโลกนิยาย

เพื่อเพียงคลายจากความทุกข์ตรม

ที่ขื่นขมและจ่อมจมในโลกอีกใบ


โลกใบนี้ โลกใบนั้น

สับวันหมุนเปลี่ยนเวียนไป

ชีวิตเราอยู่ตรงไหน

เหลือเพียงใจจะเลือกมองเอง ฝันหรือจริง


นักแสดง

รายชื่อนักแสดงละครเวที "ชายกลาง"


      ตัวละคร                                                 นักแสดง


สมชาย                                                  (โน้ต) อุดม แต้พานิช

พรหมพรภรณี                                         (เบนซ์) พรชิตา ณ สงขลา

บ.ก. วิทิต                                               (หนิง) นิรุตติ์ ศิริจรรยา

ภักดี (รุ่นพี่นักเขียน)                                (บ๊อบบี้) นิมิตร ลักษมีพงศ์

ปริศนา                                                   (ริต้า) ศรีริต้า เจนเซ่น

ท่านชาย                                                 (จํอบ) นิธิ สมุทรโคจร

หม่อมชุลี (แม่มาหยารัศมี)                          (ป๋อง) พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา

มาหยารัศมี                                              (โบวี่) อัฐมา ชีวนิชพันธ์

แม่ช้อย (แม่ปริศนา)                                  (เม้าท์) สุดา ชื่นบาน

อนงค์ (พี่สาวปริศนา)                                 (ดี้) ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ

แม่นม                                                     (เต่า) อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา

พิศาล                                                      (อาร์ม) ธาตรี จิตรพลี

สยุมภู                                                      (เอส) นภัส ขวัญเมือง

ธงชัย (คนขับรถ)                                       (ป้อม) นฤพร เสาวนิตย์

เพียงฟ้า (คนใช้ฝ่ายดี)                                (อร) อรุณี พาสุข

ผกา (คนใช้ฝ่ายร้าย)                                  ภัฎฎารินธ์ อิงคุลานนท์

สุดใจ (พี่ข้างบ้านสมชาย)                             (แอม) อลิสา กฤษณยรรยง

ชายกลาง (ฉาก intro) นักร้องในงานวันเกิด    (เซฟ) ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์

ทนายความ                                                (เสริม) ภูริน อัศวรัตน์

ผู้ช่วยทนายความ                                        (ท็อป) กิตติฑัตย์ โควหกุล

Ensemble (alphabetical order)

หญิงเล็ก (ฉาก intro) /ชาวบ้าน/ชาววัง/           ชญานุช อรรฒจิรัตฐิกาล  

คนใช้ฝ่ายร้าย

หม่อมแม่ (ฉาก intro) /ชาวบ้าน/ชาววัง/          ชัญชนา อรรฆจิรัตฐิกาล

คนใช้ฝ่ายดี

ชาวบ้าน/ชาววัง/คนใช้ฝ่ายดี                          ธันยพร มหาดิลกรัตน์

ชาวบ้าน/ชาววัง/คนใช้ฝ่ายร้าย                       นภาลัย แซ่แต้

ชาวบ้าน/ชาววัง/คนใช้ฝ่ายร้าย                       พนมเรขา โพธิติก

ชาวบ้าน/ชาววัง/คนใช้ฝ่ายดี                          วงวรา ตรรกบุตร

ชาวบ้าน/ชาววัง/คนใช้ฝ่ายร้าย                       วริษฐา เจริญชัยกรณ์

พจมาน(ฉาก intro)/ชาวบ้าน/ชาววัง                ฤชุภา สมโสภา (กอบัว)

คนใช้ฝ่ายดี

ชาวบ้าน/ชาววัง                                            ไกรชยะ เขียวพันธ์ (ยะ)

ชายน้อย (ฉาก intro) ชาวบ้าน/ชาววัง              จักรพันธ์ ตัณฑะสุวรรณะ

ชาวบ้าน/ชาววัง                                             ชวลิต นาเมืองรักษ์ (แป๊ะ)

ชาวบ้าน/ชาววัง                                             ธวัชชัย (บิว)

ชาวบ้าน/ชาววัง                                             พัชรวีร์ ปิ่นทอง (เต้ย)

ทนายความ (ฉากintro) ชาวบ้าน/ชาววัง            ศักรินทร์ ศรีม่วง (เต้ย)

ชาวบ้าน/ชาววัง                                              ศุภฤกษ์ เสถียร (เบสท์)

ชาวบ้าน/ชาววัง                                              สถิตย์ เจนเลื่อย (ต้อง)  

จากคำให้การของผู้กระทำ  (กำกับ)  ชายกลาง

ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม


      จากจุดเริ่มขอ่งรักแรกย้อนกลับไป

5 ปีที่แล้ว  ที่ผู้ชายคนนี้ได้สบตากับสาว

งามนามว่า   "ปริศนา"  และเพราะรักนั้น

แสนยิ่งใหญ่จนเขาไม่อาจเก็บเธอไว้ได้

อีก.....5 ปีถัดมาเขาจึงนำเธอขึ้นมาเฉือน

เอ๊ย..ลงมือหยิบเธอขึ้นมาและแปรสภาพ

เธอกลายเป็น "ชายกลาง" เสียอย่างนั้น!!!


     "ผมเป็นรุ่นพี่ที่กลับไปคณะสถาปัตย์ (จุฬา) เพื่อช่วยน้อง ๆ ทำละครเวทีเสมอ ผมชอบบรรยากาศของมัน เครียดแต่สนุกมาก พอละครรอบสุดท้ายเสร็จ เหมือนของรักหายไปโดยไม่มีทางกลับมาอีกแล้ว เราจึงโหยหาว่าเมื่อไรจะได้ทำละครเวทีอีก แต่พอจบออกมาก็ไม่มีอีกแล้ว ผมจึงกลับไปช่วยน้อง ๆ เสมอ  เพราะอยากอยู่ในบรรยากาศแบบนั้นอีก


     "ส่วน "ปริศนา" เป็นละครเวทีที่ผมกลับไปช่วยน้อง ๆ ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่แก่ที่สุด แล้วน้องรุ่นนี้เป็นรุ่นที่น่ารัก เปิดรับทุกอย่าง ด้วยบทของเขาค่อนข้างดีอยู่แล้ว ผมแค่เข้าไปช่วยดูว่าเล่นแบบนี้สนุกหรือยัง แบบนี้ดีไหม ซึ่งทีแรกทำกันยังดูไม่ออกเลยว่าจะดีขนาดนี้ พอพี่จิก (ประภาส ชลศรานนท์) มาดูแล้วชอบ แกบอกว่าน่าจะทำให้เป็นละครใหญ่ ๆ ไปเลย ก็นำไปพัฒนากันต่อ"


     คำว่าพัฒนากันต่อนี้มีทั้งทำเป็นบทภาพยนตร์แต่อาจจะดูงงงวยเกินไป เพราะเป็นพล็อตที่ช้อนทับกันระหว่างชีวิตผู้เขียนนิยายและชีวิตของตัวละครใน นิยาย หรือเพราะสาเหตุใดก็แล้วแต่ โครงการนี้จึงต้องพับไว้ก่อน....


        สุดท้ายสิ่งที่เป็นคู่กันแล้วก็ไม่แคล้วกัน "ปริศนา" ย่อมเหมาะกับการเป็นละครเวทียังวันยังค่ำ แต่ครั้งนี้เธอได้ย้ายสถานจากบ้านทรายทอง สู่ใต้ร่มชายคาเคหาสน์หลังใหม่ใหญ่กว่าเดิมนามว่า"เวิร์คพอยท์" โดยมีประภาศ ชลศรานนท์ เป็นโปรดิวเซอร์ดูภาพรวมทั้งหมดให้อีกด้วย


       ตอนนี้บริษัทของผม (บริษัทโต๊ะกลม-ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์มาก่อน เช่น รายการทีวีเบลอ เบลอ) มาเป็นบริษัทลูกของเวิร์คพอยท์ เป้าหมายคือการทำละครเวทีเป็นอาชีพ อย่างน้อยปีละเรื่อง เพราะตอนนี้เรามีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เราคิดไว้แต่แรกแล้ว คือทำละครเวทีเป็นอาชีพ เราเห็นคุณบอย (ถกลเกียรติ วีรวรรณ)  ปูทางไว้ดีมากแล้วมีแฟนประจำ เราก็ต้องเริ่มสร้างแฟนของเราบ้าง"


        เมื่อวันนี้ "ปริศนา" แปลงโฉมกลายเป็น "ชายกลาง" และถือได้ว่าเป็นละครเวทีเต็มรูปแบบเรื่องแรกของพวกเขาแล้วนั้น สิ่งที่ผู้กำกับคนนี้อยากจะบอกแก่ผู้ชมที่สุดคือ....  


        "เป็นเรื่องการให้คุณค่าอะไรบางอย่าง อย่างนิยายน้ำเน่าดูว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ไม่มีประโยชน์อะไรกับใคร แต่จริง ๆ แล้วมันมีคุณค่าในตัวเอง ถ้าเปรียบกับละครน้ำเน่า ที่พี่ป้าน้าอาดูกันอยู่ อาจมีบางคนรู้สึกว่าอี๋ แต่สิ่งที่เราร้องอี๋ คนส่วนใหญ่ชื่นชมมาก และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราทำไม่ได้อย่างเขาเสียด้วย นี่แหละคือคุณค่าของเขา  ซึ่งละครเวทีเรื่องนี้มันเป็นเรื่องสะท้อนภาพของยุคนี้แต่เล่าผ่าน ยุคอดีตซึ่งยังไม่มีคำว่าน้ำเน่าด้วย หรือว่าจริง ๆ แล้วชีวิตก็มีอยู่แค่นั้น เลยเขียนอยู่แต่แบบนี้ก็ได้"


         แล้วไม่ว่าจะเป็น  "ปริศนา"   "ชายกลาง"   "พจมาน"    หรือ

"ดาวพระศุกร์"  ก็ยังต้องก้าวเดินต่อไปในหนทางที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า  "น้ำเน่า"  แต่อย่างที่ผู้กำกับคนนี้บอกไว้ สิ่งเหล่านี้อาจมีคุณค่าและไม่แน่ว่าชีวิตของเราก็อาจน้ำเน่า  สุขเศร้า  ไม่แพ้กัน  สมกับคำสร้อยที่โปรดิวเซอร์อย่าง คุณประภาสต่อท้ายให้ละครเวทีเรื่องนี้ว่า  "โศกนาฎกรรมในจังหวะแทงโก้" ก็เป็นได้    



เปิดใจ ผู้ออกแบบโรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์

"คุณสมิตร โอบายะวาทย์" แห่งบริษัท OBA (The Office of Bangkok Architects Co., Ltd.)

"โรงละครมี "คอนเซ็ปต์" เดียว คือทำใหคนดูละครได้อย่างเข้าถึง เล่นละครหรือ สร้างละครได้อย่างมีคุณภาพและมีข้อจำกัดน้อยที่สุดผู้ชมมีความสุขตั้งแต่ เริ่มจะไปดูละคร รอละครเล่น ระหว่างเล่น ระหว่างพักครึ่ง แม้กระทั่งละครเลิก เราไมมี "คอนเซ็ปต์" อะไรเป็นพิเศษ เป็นเรื่องขแงการทำตามความต้องการของเจ้าของมากกว่า

คุณบอย (ถกลเกียรติ วีรวรรณ) อยากทำ "มิวสิคเคิล เธียเตอร์" มานาน จริงๆ เท่าที่เราเริ่มศึกษามาด้วยกันประมาณ 4-5 ปี ศึกษาไป หาสถานที่ไป มาลงตัวที่ตึก เอสพานาด (Esplanade) ถ้าพูดว่า "คอนเซ็ปต์" การออกแบบคืออะไร คงเป็นโรงละครมิวสิกเคิล เธียเตอร์ ที่ดีที่สุดใประเทศเราจะมีได้ ในงบประมาณ
และข้อจำกัดซึ่งมีมหาศาล แล้วก็ไม่เล็กนะ 1,500 ที่ ที่นี่น้อยกว่าศูนย์วัฒนธรรมหน่อยเดียว แต่อย่าลืมว่าเขามี 3 ชั้น ซึ่งชั้นบนสูงมาก เรามีแค่ 2 ชั้น
เพราะที่นั่นเน้น "คอนเสิร์ต ฮอลล์" เน้นเสียงก้องขณะที่ของเราใช้ Amplifiles เราเน้นการมองเห็น Sight line ต้องดี ต้องใกล้ชิดกับนักแสดง เห็นสีหน้าคนเล่น ต่างกับคนดู Orchestra ทั้งวงหน้าตาคล้ายกันหมด เพราะมันไกลแต่ก็ไม่สำคัญเพราะเสียงดี

จริงๆ ก็คุยกันเยอะ เรื่องว่าจะต้องนั่งสบายเก้าอี้ต้องใหญ่ๆ ทางเดินต้องกว้างๆ แบบโรงหนังรุ่นใหม่ๆ แต่พอเอาเข้าจริง โรงละครต้องคิดอีกแบบหนึ่ง ต้องนั่ง-
ตรง ไม่ให้โยกเบาะหลัง เดี๋ยวคนอื่นเสียสมาธิ เออจริงๆ นะ ที่เมืองนอกไม่ว่า โรงละครเก่าหรือใหม่ เก้าอี้เล็กมาก แล้ว Fix หมดเลย แถวหลังต้องไม่ไกลมาก ถึงเข้าใจว่าทำไมจึงต้องมี Intermission จะได้พักครึ่งพร้อมกันไปทานน้ำ เข้าห้องน้ำพร้อมกัน ไม่มีใครเดือดร้อนแต่ระหว่างเล่นต้องนิ่ง

เป็น "คอนเซ็ปต์" ดั้งเดิมเลยว่า ผู้ชมคือ ผู้แสดงด้วย มาดูละครแต่งตัวสวยนะ มาโชว์ตัวกัน ขนาดในสิงคโปร์ คนหนุ่มสาวเขายังให้ความสำคัญกับการดูละคร
เลย  เลยต้องทำให้ตอนออกแบบต้องคิดว่า Space ควรมีชั้นเชิง ทางขึ้น ทางลง ต้องมี Mood ต้องมี Overture (โหมโรง) ดูละครพักครึ่งจะสนุกมาก เป็นงานสังคมย่อยๆ แต่ โถงหน้าเราเล็กไปหน่อย เพราะสถานที่บังคับแต่ก็อบอุ่นดี เราให้ความสำคัญกับ "เวที" และ "หลังเวที" มากรวมทั้งที่ตั้งอยู่นี้สูงถึง 35เมตร
จากพื้น เลยต้องมีวิธีขนของ ขนฉากหลายแบบ ทั้งรถ ทั้งลิฟท์ ทั้ง Hoist

การตกแต่งเป็นสมัยใหม่ เรียบง่าย แต่มีความเป็นไทยเข้าไปเกี่ยวข้องพอสมควรใช้ฝากปะกนของบ้านไทยเป็นสัญลักษณ์ แต่นำมาใช้แตกต่างกันตาม"ฟังค์ชั่น"
ใช้เป็น Acoustic Feature ใช้เป็นหน้าโรง เพราะชาติอื่นไม่มีฝาปะกน คุณบอยอยากให้ดูไทย ต้องให้รู้ว่าอยู่เมืองไทย ทำ Modern มากๆ ก็สู้ฝรั่งไม่ได้
แต่ "ฟังค์ชั่น" น่าจะสู้ได้ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ใช้อย่างดีและเครื่องเสียงดีมากๆ

โรงละครเป็ดไฟแป๊ปเดียว เดี๋ยวก็มืดอีกแล้ว "ดีไซน์" ไปเยอะๆ เปลืองตังค์คุณบอยเปล่าๆ คนชอบถามว่า "อลังการไหม" ผมจะตอบว่า "Space ก็อลังการแล้ว
ครับ  แต่งมากๆ เดี๋ยวเลอะไปกันใหญ่""

ที่มา "รัชดาลัย แม๊กกาซีน" ฉบับที่ 3 เดือน สิงหาคม 2007






 นิตยสาร "รัชดาลัย แม๊กกาซีน" ฉบับที่ 3 เดือน สิงหาคม 2007