ค้นหาบล็อกนี้

เลือดไทย

 


  • Release Date: 15 พฤษภาคม 2484
  • Producer: ราชบุรีภาพยนตร์
  • Screenwriter: ป. ศรีสมวงศ์
  • Starring: ประคอง เกตุรายนาค, ภักดิ์ มหาสารินนท์

เลือดไทย


ชื่อเดิม ศรีโสภณ
ฟิล์ม 35 มม. / ขาวดํา / พากย์, เสียง
15 พฤษภาคม 2484
ฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง
บริษัทสร้าง ราชบุรีภาพยนตร์ และกรมประชาสงเคราะห์
ที่ปรึกษา เลียง ไชยกาล
ผู้ประพันธ์ ป. ศรีสมวงศ์
ผู้กํากับ ชาย โชติประสิทธิ์
ผู้แต่งบทพากย์ พันธุ์จันทร์ ประพันธุ์
ผู้ถ่ายภาพ บํารุง แนวพาณิชย์, วิจิตร แนวพาณิชย์
ผู้บันทึกเสียง น้อย บุนนาค
ผู้ทําดนตรีประกอบ นารถ ถาวรบุตร
ผู้ประพันธ์คําร้อง ล้วน ควันธรรม
ผู้พากย์ ทิดเขียว

เค้าเรื่อง
“ภาพยนตร์ไทยมีเสียงประกอบบท พากย์แบบใหม่ตามแนวความคิดใหม่ของบริษัทราชบุรี

สร้างจากชีวิตแท้ของไทยใกล้แม่โขงที่ยอมสละชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อป้องกันอิสรภาพและทรัพย์สิน เพราะโจรหมู่หนึ่งคอยรังควาน ปล้นสะดมอยู่ไม่หยุด แม้ว่าเลือดจะสาดราดแผ่นดินไทยในยามนี้ก็คิดแต่เพียงว่า เขาสูญสิ้นแต่ร่างกาย ส่วนชื่อเสียงของผู้ทําดีย่อมไม่หายไปจากโลกนี้เท่านั้น

แม้ว่าจะเป็นท่ามกลางความเวิ้งว้างว่างเปล่าเช่นนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไร้เสียซึ่งความรักความหวานหยาดเยิ้มเสียทีเดียวไม่ .. เลือดไทยต้องสู้ สู้จนกว่าชีวิตจะ หาไม่ ถ้าสู้ไม่ได้ก็จงเอาร่างของเราถมไว้บนแผ่นดินไทย นี้ ดีกว่าจะต้องตกไปเป็นทาษของผู้อื่น …. เมื่อเกิดมีคน ขายชาติ, หมู่คณะ ขายชาติเกิดขึ้นเพียงคนเดียว ผลที่ได้ รับก็คือ … ภายในค่ายน้อย ๆ ที่ชาวไทย – เลือดไทยเรา ต้องร่วมใจกันสู้ฝ่ายอธรรม – สู้ สู้ จนกระทั่งโลหิตหยด สุดท้าย เพื่อเกียรติศักดิ์ของไทย … อย่างนี้ใครจะทนได้ แต่ถ้าใครไม่ปรารถนาที่จะอยู่ในสภาวะเช่นนี้ ก็ต้องสู้ สู้ เพื่อไว้ลายของชายชาติเสือ ผู้มีเลือดเนื้อเป็นไทย… นี่คือ คนขายชาติ แนวที่ 5 ฉะนั้น จงร่วมใจร่วมกายกันปราบปรามแนวที่ 5 เสียแต่บัดนี้”


ผู้แสดง
ภักดิ์ มหาสารินนท์,
ประคอง เกตุรายนาค

ที่มา นิตยสารประมวลภาพยนตร์ พฤษภาคม พ.ศ. 2484

เลือดทหารไทย

 


เลือดทหารไทย

  • Release Date: 3 เมษายน 2478
  • Director: ขุนวิจิตรมาตรา
  • Producer: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • Screenwriter: ขุนวิจิตรมาตรา
  • Starring: ร.อ. ม.ล. ขาบ กุญชร



เลือดทหารไทย
Undaunte Sons of Siam

  • ฟิล์ม 35 มม. / ขาวดํา / เสียง
  • ฉายที่ วัฒนากร, ควีนส์
  • บริษัทสร้าง สํานักงานโฆษณาการ, กระทรวงกลาโหม, ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • กรรมการฝ่ายกระทรวงกลาโหม นายพันเอก พระสราภัยสฤษฏิการ, นายพันเอก พระประจนปัจจนึก, นายพันโท หลวงพรหมโยธี, นายพันโท หลวงวิจักษ์กลยุทธิ์, นายนาวาตรี หลวงนิเทศกลกิจ, นายพันตรี หลวงอาวุธ วิชาชาญ, นายเรือเอกชลิต กุลกํามธร, นายร้อยเอก หลวงเจริญจรัมพร
  • กรรมการฝ่ายสํานักงานโฆษณาการ นายพันตรีหลวงรณสิทธิพิชัย, นายพันตรีหลวงราชานุรักษ์, หลวงกลการเจนจิต
  • กรรมการจัดทํา มานิต วสุวัต, ขุนวิจิตรมาตรา
  • ที่ปรึกษาทางเทคนิคทหารบก นายพันโท หลวงพรหมโยธี
  • ที่ปรึกษาทางเทคนิคทหารเรือ นายเรือเอกชลิต กุลกํามธร
  • ที่ปรึกษาทางเทคนิคทหารอากาศ นายร้อยเอก หลวงเจริญจรัมพร
  • ผู้อํานวยการสร้าง มานิต วสุวัต
  • ผู้ประพันธ์ ขุนวิจิตรมาตรา
  • ผู้กํากับ ขุนวิจิตรมาตรา
  • ผู้ถ่ายภาพ หลวงกลการเจนจิต
  • ผู้ช่วยถ่ายภาพ กระแสร์ วสุวัต, ศรีสุข วสุวัต
  • ผู้ออกแบบฉาก หลวงภรตกรรมโกศล, นายพันตรี หลวงอาวุธวิชาชาญ
  • ผู้บันทึกเสียง กระเศียร วสุวัต
  • ผู้ช่วยบันทึกเสียง นายร้อยตรีจินดา วงษ์ไพบูลย์
  •  ผู้ทําดนตรีประกอบ นาวาตรี หลวงนิเทศกลกิจ


เรื่องย่อ

นาวาตรี หลวงสหะนาวิน ผู้บังคับหมวดหน่วยรบประจําเรือรบหลวงสุโขทัย นําทัพประลองยุทธใหญ่ทางทะเลจึงได้รับคําสั่งเลื่อนยศพร้อมกับคนอื่น ๆ คืนวันรุ่งขึ้น ได้มีงานเลี้ยงบนเรือรบหลวงสุโขทัย หลวงสหะนาวินได้พบ พาณี นรกุล น้องสาวของ เรือเอกปรีชา นรกุล ก็รู้สึกหลงรัก เช่นเดียวกับ พันตรีหลวงกฤษณะสงคราม เพื่อนสนิท หลวงสหะนาวินจึงหลีกทางให้
จนกระทั่งประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงครามรัฐบาลได้อนุมัติให้กระทรวงกลาโหมดําเนินการตาม ยุทธศาสตร์ตามแผนป้องกันพระราชอาณาจักร ที่ พลโท พระยานรกุลร่างขึ้น แต่ขณะนั้นเองมีกลุ่มคนคิดขายชาติ นําโดย วิญญู เป็นหัวหน้า ต้องการขโมยร่างแผนป้องกัน พระราชอาณาจักร จึงให้อุดมกับเฉลิมลอบไปขโมยในงาน วันเกิดพระยานรกุลที่จะจัดขึ้นในอีกไม่กี่วันต่อมา


เมื่อถึงวันงาน อุดมลอบเข้าไปขโมยร่างแผน ป้องกันพระราชอาณาจักรในบ้านพระยานรกุลสําเร็จ แต่ ขณะที่กําลังปืนลงมาจากตึก หลวงกฤษณะมาเห็นเข้าจึงยิงอุดมเสียชีวิต เฉลิมซึ่งคอยดูต้นทางอยู่รีบวิ่งไปฉวยแผนป้องกันพระราชอาณาจักรและหลบหนีไปได้ หลวงกฤษณะถูกเรียกเข้าประจํากรมด่วน เนื่องจากรัฐบาลประกาศสงครามแล้ว นายเรือเอกปรีชาจึงเสียสละ ออกรับแทนว่าตนเป็นผู้ยิงอุดมเสียชีวิต หลวงกฤษณะจึงได้ไปปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติ หลังจากนั้นตํารวจก็ได้รับแจ้งว่าร่างแผนป้องกันพระราชอาณาจักรหายไป เมื่อสอบปากคํา นงลักษณ์ ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ ตํารวจจึงรีบไปดักรอผู้ต้องสงสัยที่สถานเบียร์ฮอลล์ “โอดี” และ จับวิญญและเฉลิมพร้อมของกลางได้ นายเรือเอกปรีชา จึงได้รับการปล่อยตัวไปเป็นผู้บังคับหมู่เรื่อยามฝั่ง กองทัพ บก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศไทยเคลื่อนทัพสู่ กสนามรบ และได้ชัยชนะกลับมา



 นักแสดง

ร.อ. ม.ล. ขาบ กุญชร เป็น พ.ต. หลวงกฤษณะสงคราม
จําเนียร อินทรนิลวัต เป็น พาณี นรกุล
นาวาตรี หลวงสุภีอุทกธาร เป็น นาวาตรี หลวงสหะนาวิน
เรือเอก หลวงประดิยัตนาวายุทธ เป็น เรือเอก ปรีชา นรกุล
จํารุ กรรณสูตร เป็น นงลักษณ์ สหะนาวิน
นายพันโท หลวงประสิทธิ์ยุทธศิลปะ เป็น นายพลโท พระยานรกุล
ร.ท. ม.ล. คํารน สุทัศน์ เป็น ร.ท. เฉิด ภักดีพันธ์
พ.ต. หลวงสารานุประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกลาโหม
พ.ต. หลวงประชานุรักษ์ เป็น วิญญ
มานิตนเรศร์ เป็น อุดม ไชยประสิทธิ์
ร.ท. เขียน ธีมากร เป็น เฉลิม บุญโรจน์
ร.ต.อ. เอ็ด ณ ป้อมเพ็ชร์ เป็น นายตํารวจสันติบาล

ที่มา สมุดภาพยนตร์ เรื่อง เลือดทหารไทย พ.ศ. 2475

เลือดทหารไทย เป็นหนังทหาร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สามเหล่าทัพ ร่วมกันสร้างในนามของสำนักงานโฆษณาการ และเป็นหนังปลุกใจ ที่แสดงถึงศักยภาพของกองทัพไทย

มีเพลงประกอบ 6 เพลง

เลือดชาวนา

 


เลือดชาวนา

  • Release Date: 10 กรกฎาคม 2479
  • Director: ศรีสุข วสุวัต, เชื้อ อินทรทูต
  • Producer: บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • Screenwriter: เชื้อ อินทรทูต
  • Starring: จำรัส สุวคนธ์, ปลอบ ผลาชีวะ, ราศรี เพ็ญงาม


เลือดชาวนา

ฟิล์ม 35 มม. / ขาวดํา / เสียง

ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
บริษัทสร้าง ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
ผู้อํานวยการสร้าง มานิต วสุวัต
ผู้ประพันธ์ เชื้อ อินทรทูต
ผู้กํากับ ศรีสุข วสุวัต, เชื้อ อินทรทูต
ผู้ถ่ายภาพ หลวงกลการเจนจิต, ศรีศุข วสุวัต
ผู้บันทึกเสียง กระเศียร วสุวัต
ผู้ทําดนตรีประกอบ ร.ท. มานิต เสนะวีณิน ร.น.

เรื่องย่อ
เปรม ปลอดภัย เป็นลูกชาวนาเมือง อยุธยา อาศัยอยู่กับ ปลั่ง มารดาซึ่งเป็นอัมพาต เปรม คบหาอยู่กับ น้อย นาสวน ลูกสาวของ เนย เศรษฐีประจํา ตําบล แต่ด้วยความยากจนข้นแค้นของเปรม จึงถูกเนย กีดกัน บ่ายวันหนึ่ง เนยและน้อยไปปรึกษากํานันอ่วมใน การประกอบพิธีสมโภชแม่โพธิ์สพ เป็นเวลาเดียวกับที่ เจือ จิตต์อารี หนุ่มชาวกรุงหลานกํานันอ่วมมาเยี่ยมน้าของตน เจือประทับใจในความงามของน้อย จึงหาโอกาสใกล้ชิดน้อยด้วยการร้องเพลง ถึงแม้เปรมจะแสดงตัวว่า เป็นคนรักของน้อยก็ตาม ทั้งสองจึงทะเลาะกัน เจือเป็น ฝ่ายแพ้ วันหนึ่งเปรมออกจากบ้านเพื่อไปซื้อยาให้แม่ที่ ตลาด ผ่านร้านสุรา มัยหลี ซึ่งเพื่อนของเปรมกับพรรค พวกของเรือกําลังต่อยตีกันอยู่เปรมเข้าไประงับเหตุการณ์ แต่กลับถูกตํารวจจับกุม
ระหว่างถูกควบคุมตัวเปรมขอร้องตํารวจกลับ ไปบอกแม่ ตํารวจเห็นใจจึงพากันไปที่บ้านเปรม แต่ ปรากฏว่าบ้านของเปรมถูกไฟโหมไหม้ เปรมฝ่ากองเพลิง เข้าไปช่วยแม่ไว้ได้ทัน จากนั้นจึงพาแม่ไปรักษาตัวที่ กรุงเทพ เผอิญหมอที่ทําการรักษาเป็นน้องชายของปลั่ง จึงช่วยรักษาและออกเงินให้เปรมปลูกบ้านใหม่พร้อม มอบเงินให้อีกจํานวนหนึ่ง เปรมรีบกลับมาหาน้อยที่ อยุธยาด้วยความดีใจ แต่ขณะนั้น น้อยกําลังจะเข้าพิธี แต่งงานกับเจือ เปรมจึงยอมเป็นฝ่ายเสียสละ เพราะไม่ อยากให้น้อยอกตัญญูต่อบิดา แต่น้อยยืนกรานว่าหัวเด็ด ตีนขาดจะไม่แต่งงานกับเจือ เจือแอบฟังอยู่โดยตลอด ซาบซึ้งถึงรักแท้ที่ทั้งสองมีให้กัน จึงมอบแหวนแต่งงานให้ เปรมแทนที่ตน

นักแสดง

ราศรี เพ็ญงาม เป็น น้อย นาสวน
ปลอบ ผลาชีวะ เป็น เปรม ปลอดภัย
จํารัส สุวคนธ์ เป็น เจือ จิตต์อารี
บังอร อินทโสภณ เป็น ลออ เอี่ยมสําอางค์
โกศล วสุวัต เป็น เอิบ เรือโอ่
ฉวี จุลรัตน์ เป็น เกื้อ แตงอ่อน
หลวงภรตกรรมโกศล เป็น เนย นาสวน
หลวงราญรณกาจ เป็น กํานันอ่วม
เลื่อน กมลรัตน์ เป็น ปลั่ง ปลอดภัย
แนม สุวรรณแพทย์ เป็น โปร่ง ปลอดภัย
ผัน นากสุวรรณ เป็น สําเนียง สนัดพิณ
แฉล้ม บัวเปลี่ยนสี

เพลงประกอบ ตะวันยอแสง ขับร้องโดย จำรัส สุวคนธ์

ผลิตโดย บริษัทภาพยนตร์เสียง ศรีกรุง



เลือดชนบท

 

  • Release Date: 27 กรกฎาคม 2480
  • Director: หลวงกลการเจนจิต
  • Producer: ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
  • Screenwriter: สังคามาระตา
  • Starring: จําเนียร นนทศิริ, ชั้น ไชยนันท์, เบ็ญจา รัตนกุล

เลือดชนบท
Country Life



 ฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง

บริษัทสร้าง ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
ผู้อํานวยการสร้าง มานิต วสุวัต
ผู้ประพันธ์ สังคามาระตา
ผู้กํากับ หลวงกลการเจนจิต
ผู้ถ่ายภาพ พอใจ วสุวัต
ผู้ลําดับภาพ ประจวบ อมาตยกุล
ผู้กํากับศิลป์ แนม สุวรรณแพทย์
ผู้บันทึกเสียง กระเศียร วสุวัต
ผู้ทําดนตรีประกอบ นารถ ถาวรบุตร์

เรื่องย่อ
ปรุง สาวชาวบ้านอาศัยอยู่กับแม่ อย่างสงบสุขอยู่ที่เมืองอ่างทอง จนกระทั่งแม่มีสามีใหม่ ชื่อโฉม ซึ่งเป็นคนสํามะเลเทเมาและเป็นผีการพนันอย่าง สาหัส วันหนึ่งโฉมแพ้พนันชนไก่ เถ้าแก่อ้วน แต่ไม่มีเงิน เพียงพอจะชําระหนี้ จึงยกปรุงให้แต่งงานกับเถ้าแก่อ้วน ปรุงชอกช้ำใจเป็นอันมากจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยเขียน จดหมายลาตายถึงมารดา แต่ขณะที่ปรุงกําลังจะกระโดดน้ำหมายปลิดชีวิตของตน เดชะบุญที่ จิตต์ ซึ่งออกมา ทอดแหหาปลามาพบเข้าจึงช่วยชีวิตปรุงได้ทัน แต่ไม่มี ใครรู้ว่าปรุงนั้นรอดชีวิต จิตต์พาปรุงมาพักที่บ้านและดูแล เป็นอย่างดีจนทั้งสองเกิดสมัครรักใคร่กัน หลายเดือน ถัดมา ในวันสงกรานต์ จิตต์และปรุงพากันมาเที่ยวงาน เฉกเช่นชาวบ้านคนอื่น ๆ เยมส์ และ ทองต่อ เห็นปรุง กําลังร้องเพลงและจําได้ว่าปรุงเป็นคนเดียวกับที่กระโดดน้ำาตาย อาศัยที่เป็นน้องชายนายอําเภอจึงนําตัวปรุงไป สอบสวน โฉมทราบข่าวกระวีกระวาดมารับตัวปรุง และ หว่านล้อมเยมส์ให้ไปขโมยโฉนดที่ดินที่อําเภอ โดยสัญญาว่าจะยกปรุงให้ หารู้ไม่ว่าโฉนดที่ดินนั้นเป็นโฉนดปลอม ที่โฉมเอาไปหลอกเถ้าแก่อ้วน เถ้าแก่อ้วนจึงไปฟ้องนาย อําเภอให้จับกุมโฉมกับพรรคพวกได้สําเร็จ ปรุงกับจิตต์ จึงได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข



นักแสดง
เบ็ญจา รัตนกุล เป็น ปรุง
ชั้น ไชยนันท์ เป็น จิตต์
จําเนียร นนทศิริ เป็น เจียม
สวัสดิ วิธีเทศ เป็น ดวง
ทองอ่อน ยุกตะนันท์ เป็น โฉม
ทองคํา มาร์ติน เป็น เยมส์
เลี่ยงฮง แซ่อึ้ง เป็น เถ้าแก่อ้วน
ไฉน กีรกะจินดา เป็น สาย
ทองต่อ จาตุรงคกุล เป็น ทองต่อ
ชิน ศุกรสุคนธ์ เป็น นายอําเภอ
ฮะ มิ่งขวัญตา เป็น นายสิบตํารวจเอก
ผ่อง ศิริสัมพันธ์, แสร์ ศรีผดุง, ใหญ่ ชูแสงทอง

เลือดชนบท ใช้รถติดตั้งอุปกรณ์อัดเสียง (ด้วยความช่วยเหลือ) จากฮอลลีวูด

ท่านมุ้ย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล



ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

ปีเกิด  : 2485

ประวัติโดยย่อ :
ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดง ประจำปี 2544 “ท่านมุ้ย” จบปริญญาตรีทางด้านธรณีวิทยา จาก UCLA และเรียนภาพยนตร์เป็นวิชาโท กลับมาเป็นกำลังสำคัญในวงการภาพยนตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2515 จากเรื่อง “มันมากับความมืด “ แต่ก่อนหน้านั้นก็มีผลงานการกำกับทั้งภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการดำน้ำและการถ่ายภาพยนตร์ใต้น้ำ เมื่อ พ.ศ. 2543 ทรงกำกับภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย “สุริโยไท” ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท พร้อมมิตร โปรดักชั่น จำกัด

ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นคนทําหนังที่เป็น “ที่สุด” ในหลาย ๆ ด้านแห่ง วงการภาพยนตร์ ท่านเป็นผู้กํากับที่ “เก่าที่สุด ผู้สามารถยืนหยัดอย่างอิสระและมีผลงานต่อเนื่องตลอด 25 ปีเต็ม โดยคงอรรถรสสไตล์ “ท่านมุ้ย” ให้โดดเด่นไว้ได้ในหนังกว่า 30 เรื่อง

เป็น “มือรางวัลที่สุด” ทําลายสถิติผู้สร้างคนอื่น ด้วยการคว้ารางวัล ตั้งแต่หนังเรื่องที่สองของชีวิตคือ เขาชื่อกานต์” เมื่อปี 2516 ก่อนจะเก็บ อีกมากระหว่างทาง จนถึงรางวัลของชมรมวิจารณ์บันเทิงปีปัจจุบันจากเรื่อง “สาละวิน

ทั้งความเก่าและความเป็นมือรางวัลนี้เอง ทําให้ท่านกลายเป็นคน สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับการ “ยอมรับมากที่สุด ว่าหาใครทาบได้ยาก ไม่ว่าจะ เป็นในด้านกํากับ ถ่ายภาพ ตัดต่อ เขียนบทภาพยนตร์ ในรอบสามทศวรรษ

และล่าสุดเชื้อพระวงศ์สกุลนักทําหนังนาม “ยุคล” ผู้นี้ก็กําลังสร้าง ความเป็นที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปิดประตูหนังไทยสู่ตลาดสากล สามารถสร้างความยอมรับในระดับโลก จนได้รับเชิญให้นําออกแสดงบนหลาย เวทีนานาชาติ นําพาเรื่องราวเกี่ยวกับ “ชีวิตเล็ก ๆ ที่มีตัวเอกเป็นเพียง โสเภณี มือปืน คนเลี้ยงข้าง หรือครู ให้กลายเป็นบุคคลที่น่าสนใจใน สายตาของชาวโลก

ซึ่งทําให้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ยิ่งใหญ่อีกครั้งในสายตาคนไทย

มีผลงานในตำแหน่ง : ผู้กำกับ

ผู้กำกับ – ผลงาน

1.ความรักครั้งสุดท้าย (2546)
2.สุริโยไท (2544)
3.กล่อง (2541)
4.เสียดาย 2 (2539)
5.เสียดาย (2537)
6.เฮโรอีน (2537)
7.มือปืน 2 สาละวิน (2536)
8.คนเลี้ยงช้าง (2533)
9.ครูสมศรี (2529)
10.อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527)
11.มือปืน (2526)
12.ถ้าเธอยังมีรัก (2524)
13.อุกาฟ้าเหลือง (2523)
14.กาม (2521)
15.ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
16.รักคุณเข้าแล้ว (2520)
17.เทวดาเดินดิน (2519)
18.ความรักครั้งสุดท้าย (2518)
19.ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518)
20.เทพธิดาโรงแรม (2517)
21.เขาชื่อกานต์ (2516)
22.มันมากับความมืด (2514)

 

 
 

รวมรูปดาวยั่วในอดีตที่หาดูยาก ในวงการหนังไทย

 สุพรรณี จิตต์เที่ยง


ผลงานเด่น พจมาน สว่างวงศ์ แสดงเป็น พจนีย์


ฉวีวรรณ บุญปรก

เด็กสร้างของ วินิจ ภักดีวิจิตร


โขมพัสตร์ อรรถยา


เสน่หา หอทิพย์ จากภายนตร์เรื่อง ผัวนอกคอก




มาลาริน

วัยตกกระ

 

ดารานำแสดง : สรพงศ์ ชาตรี, ทาริกา ธิดาทิตย์, สมภพ เบญจาธิกุล, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชูศรี มีสมมนต์, สมจินต์ ธรรมทัต, ประพิศ, จุรี โอศิริ, คุณหนู สุวรรณประกาศ, วิเวียน สุขสม กำกับการแสดง : ชนะ คราประยูร อำนวยการสร้าง : ชนะ คราประยูร ประพันธ์เรื่อง : ศิริมาดา วันเข้าฉาย : 9 กันยายน พ.ศ. 2521


นครพิงค์โปรดักชั่น ชนะ คราประยูร
เสนอ บทสุดท้ายแห่งชีวิต ซึ่งทุกคนคุ้นเคยมาเป็นภาพยนตร์
ที่แสดงถึงปัญหาความไม่เข้าใจกันภายในครอบครัว
วัยตกกระ
ของ ศิริมาดา
สรพงศ์ ชาตรี, ทาริกา ธิดาทิตย์, สมภพ เบญจาธิกุล,
นิรุตติ์ ศิริจรรยา, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชูศรี มีสมมนต์,
สมจินต์ ธรรมทัต, ประพิศ, จุรี โอศิริ
ขอแนะนำ วิเวียน สุขสม, คุณหนู สุวรรณประกาศ, กุมารี โกมารกุล ณ นคร
กวี เกียรตินันท์ ถ่ายภาพ
กมลวรรณ วิเศษประภา ที่ปรึกษา
ชนะ คราประยูร อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง
ไฟว์สตาร์ จัดจำหน่าย

*เกร็ด
-ใบปิดวาดโดย ริ้ม
-จุรี โอศิริ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองผู้แสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยมจากหนังเรื่องนี้
-หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ในการจัดประกวดปีแรก 2 สาขาคือ รางวัลภาพยนตร์สร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยม และรางวัลพิเศษดาราอาวุโสยอดเยี่ยม-หนู สุวรรณประกาศ

เลือดไทย

  Release Date: 15 พฤษภาคม 2484 Producer: ราชบุรีภาพยนตร์ Screenwriter: ป. ศรีสมวงศ์ Starring: ประคอง เกตุรายนาค, ภักดิ์ มหาสารินนท์ ...