Home » » เลือดสุพรรณ 2479

เลือดสุพรรณ 2479

 


 

บริษัทสร้าง นครภาพยนตร์บริษัท
ผู้อํานวยการสร้าง แช่ม สุขุมาลจันทร์
ผู้ประพันธ์ หลวงวิจิตรวาทการ จากบทลครเรื่อง เลือดสุพรรณ
ผู้กํากับ “หัสดินทร” กับ “ศุภลักษณ์”
ผู้แต่งบทพากย์ “ศุภลักษณ์” ผู้
ถ่ายภาพและลําดับฟิล์ม ม.ร.ว. อนุศักดิ์ หัสดินทร์
ผู้ลําดับฉาก ประยูร ดารากร ณ อยุธยา
ผู้จัดเครื่องแต่งกาย หม่องลุนเผ่, พิศวง อินทโศภณ
ผู้ประพันธ์เพลง “ศุภลักษณ์”
ผู้แต่งหน้า “ปลัดชุ่ม”
ผู้ช่วยเหลือทั่วไป เทียน อักษราพาณิชย์

เรื่องย่อ
ในสมัยอยุธยา พม่ายกทัพเข้ามารุกราน ไทย จนถึงจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการนําทัพของมังระโธ กับ มังราย ชาวสุพรรณบุรีตกเป็นเชลยของพม่า รวมทั้งครอบครัว ของดวงจันทร์ ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงาน ดวง พ่อของดวงจันทร์ และ มิ่ง เพื่อนบ้านเริ่มทํางานไม่ไหวจึงคิดหนี แต่ ถูกจับได้ มังรายเดินผ่านมาจึงช่วยทั้งสองไม่ให้ถูกทําโทษ เป็นชนวนให้มังระโธกับมังรายไม่ลงรอยกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง มังระโธทนไม่ไหวที่ถูกมังรายขัดขวางหลายต่อหลายครั้ง จึงปราดเข้าไปใช้ดาบฟันมังราย แต่กลับเป็นฝ่ายถูกฟัน กลาย เป็นความเคียดแค้นแก่มังระโธ
มังรายสารภาพรักกับดวงจันทร์ เธอจึงขอร้องให้ เขาปล่อยชาวบ้าน มังรายตอบตกลง มังระโธได้ที่นําความ ไปบอกแม่ทัพมังมหาสุรนาท แต่มังรายเดินทางมาขอรับโทษ เอง นายทหารคนอื่น ๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์พยายามช่วยเหลือ มังราย เล่าต้นสายปลายเหตุว่าเป็นเพราะมังระโรบีบคอผู้หญิง เพื่อชิงทรัพย์ และแย่งน้ำที่คนจะดื่มเอามาล้างเท้า แต่กระนั้นก็ตาม มังมหาสุรนาทก็ยังสั่งประหารมังราย แม้มังรายจะเป็น ลูกในไส้ของตนก็ตาม แล้วสั่งให้ประหารมังระโธข้อหากระทํา ทารุณต่อชาวบ้าน ขณะนั้นเอง ดวงจันทร์มาขอพบมังมหาสุรนาทและร้องขอชีวิตมังรายโดยจะยอมรับโทษแทน แต่ ทหารกําลังนําตัวมังรายไปป่าเพื่อจะประหาร ดวงจันทร์ รุดหน้าเข้าไปในป่าหวังจะไปขัดขวางการประหารชีวิต กลับพบศพพ่อและแม่ถูกทหารพม่าฆ่าทิ้งเพราะโกรธแค้นที่ ดวงจันทร์เป็นต้นเหตุให้มังรายต้องโดนประหารชีวิต
ดวงจันทร์พยายามพูดโน้มน้าวปลุกใจชาวสุพรรณ ให้ลุกขึ้นมาจับดาบขึ้นสู้ และบุกค่ายพม่ายามดึก แม่ทัพพม่า พยายามเกลี้ยกล่อมให้ดวงจันทร์กลับไปและจะยอมไว้ชีวิต แต่ดวงจันทร์ยืนกรานที่จะสละชีพเพื่อชาติ จึงเสียชีวิตพร้อมชาวสุพรรณบุรี

นักแสดง
ม.ล. ทองอยู่ เสนีวงศ์ เป็น มังมหาสุรนาท
ขจิตร์ ไชยาคํา เป็น มังราย
จิตตะเสน ไชยาคํา เป็น มังระโธ
หมื่นขับคําหวาน เป็น ทิดดวง
รําภา ระอาอ่อน เป็น นางจันทร์
สมจิตต์ อินทุโศภณ เป็น ดวงจันทร์
พิศวง อินทโศภณ เป็น ลูกอิน
ทัศนี ดารากร ณ อยุธยา เป็น สายบัว
หร่อง แส้ทอง เป็น ทิดมิ่ง
หมื่นเลิศระพักตร์ เป็น นายทหารผู้ใหญ่ที่ 1
สวิง เย็นเปี่ยม เป็น นายทหารผู้ใหญ่ที่ 2
ทวี ศิริเดช เป็น นายทหารผู้ใหญ่ที่ 3
สุวรรณ ทัศกัณฑ์ เป็น นายทหารผู้ใหญ่ที่ 4

ฉายอีกครั้งในเดือน กันยายน พ.ศ. 2493


 ที่มาภาพ นิตยสารภาพยนตร์สาร กันยายน พ.ศ. 2493

Share this article :

แสดงความคิดเห็น