Home » » พระเจ้าช้างเผือก

พระเจ้าช้างเผือก

 


พระเจ้าช้างเผือก

  • Release Date: 4 เมษายน 2484
  • Director: สัณห์ วสุธาร
  • Producer: ปรีดีโปรดักชั่น
  • Screenwriter: ปรีดี พนมยงค์
  • Studio: ปรีดี พนมยงค์
  • Starring: เรณู กฤตยากร 

 

พระเจ้าช้างเผือก

ชื่อภาษาอังกฤษ : King of the White Elephant


ฟิล์ม 35 มม. / ขาวดํา / เสียง (พูดภาษาอังกฤษ)
4 เมษายน 2484
ฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง
บริษัทสร้าง ปรีดีภาพยนตร์
ผู้อํานวยการสร้าง ปรีดี พนมยงค์
ผู้ประพันธ์ ปรีดี พนมยงค์ จากนิยายภาษาอังกฤษ เรื่อง The King of the White Elephant
ผู้กํากับ สัณห์ วสุธาร
ผู้เขียนบท ปรีดี พนมยงค์
ผู้ถ่ายภาพ ประสาท สุขุม A.S.C.
ผู้ลําดับภาพ บํารุง แนวพานิช
ผู้กํากับศิลป์ ม.จ. ยาใจ จิตรพงศ์
ผู้บันทึกเสียง ชาญ บุนนาค
ผู้ทําดนตรีประกอบ พระเจนดุริยางค์
บทเจรจา แดง คณะดิลก
ควบคุมโขลงช้าง วงศ์ แสนศิริพันธ์
ที่ปรึกษาพระราชพิธีและเครื่องแต่งกาย พระยาเทวาธิราช
ผลิตที่โรงถ่ายไทยฟิล์ม กรุงเทพฯ

กำกับโดย สัณห์ วสุธาร
ผู้ช่วยผู้กำกับ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์
ใจ สุวรรณทัต
ควบคุมโดย ปรีดี พนมยงค์
ผู้ช่วยควบคุม ประสาท สุขุม A.S.C

เรื่องย่อ
พุทธศักราช 2083 อโยธยามีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าจักรา กษัตริย์ผู้ทรงมิโปรดความโอ่อ่า และโบราณราชประเพณีในราชสํานัก ทั้งการมีมเหสี 365 องค์ หรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ แต่ทรงให้ความสนพระทัยไปกับการศึกษาหาความรู้และกิจการบ้านเมือง ครั้นรู้ข่าวว่า อาณาจักรโมกุล อาณาจักรอันเกรียงไกรกําลังแผ่ขยายอํานาจ มาเชื้อเชิญให้ กษัตริย์หงสา ร่วมเป็นพันธมิตร พระเจ้าจักรา จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าคงไม่อาจปฏิบัติตามโบราณราชประเพณีได้ในกาลดังกล่าว เพราะอันตรายกําลังแผ่ข้ามมายังขอบขัณฑสีมา การตระเตรียมไพร่พลดูจะเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าการครอบครองมเหสี พระเจ้าจักราจึงจัดให้มีการคล้องช้างเพื่อใช้เป็นพาหนะในการกระทําศึก อีกทั้งเป็นขวัญกําลังใจแก่ชาวอโยธยา การคล้องช้างสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระเจ้าจักราทรงคล้องได้ช้างเผือกมาหนึ่งเชือก อันเป็นมหามงคลยิ่งในรัชสมัย พระองค์จึงตรัสให้ทําธงสีแดงมีช้างเผือก อยู่กลางธงใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอาณาจักร
ข่าวเรื่องความพรั่งพร้อมและช้างเผือกรู้ไปถึงกษัตริย์หงสา กษัตริย์หงสาที่มีกษัตริย์โมกุลหนุนหลังจึงได้ ฉีกสนธิสัญญาว่าด้วยการยุติความขัดแย้งระหว่างอโยธยาทิ้ง หมายเข้าทําลายอโยธยาและเรียกร้องให้อโยธยามอบช้างเผือกให้ แต่พระเจ้าจักรากลับไม่ยอมอ่อนข้อ กษัตริย์ หงสาจึงเปิดฉากนําทัพเข้าสู่อโยธยา บุกตีเมืองต่าง ๆ ทั้งฆ่า ชาวเมือง จับผู้หญิงเป็นเชลย และเผาเมือง เพื่อเผชิญหน้า กับพระเจ้าจักรา แม้พระเจ้าจักราจะพยายามเจรจาสงบศึก อย่างสันติ แต่กษัตริย์หงสากลับไม่สนพระทัย พระองค์จึงขอทํายุทธหัตถีกับกษัตริย์หงสาเพื่อรักษาชีวิตประชาชนของพระองค์ โดยการทํายุทธหัตถีเป็นไปอย่างลุ้นระทึกแต่ ผลสุดท้ายกษัตริย์หงสากลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ถูกพระแสงของ้าวของพระเจ้าจักราฟาดฟันพระองค์ตกจากหลังช้าง สิ้นพระชนม์ พระเจ้าจักราจึงประกาศสงบศึกปล่อยตัวเชลย กลับและขอให้สันติสุขจงมีแก่ทุกฝ่าย แล้วกลับมาทําตาม ราชประเพณีเรื่องมเหสี 365 องค์ ด้วยไหวพริบ พระองค์ทรงยกภาระการมีมเหสีทั้ง 365 องค์ให้เป็นธุระแก่สมุหราซมณเฑียร และทรงเลือก เรณู บุตรีของสมุหราชมณเฑียร ซึ่ง เป็นหญิงที่มีความเฉลียวฉลาด มาเป็นมเหสีเอกครองอาณาจักรอโยธยาสืบไป


นักแสดง

เรณู กฤตยากร เป็น พระเจ้าจักรา
ไพริน เนียลเสน เป็น เรณู
สุวัฒน์ เนียลเสน เป็นสมุหพระราชพิธีอาณาจักรอโยธยา
หลวงศรีสุรางค์ เป็นสมุหพระกลาโหมอาณาจักรอโยธยา
นิตย์ มหากนก เป็น เจ้าเมืองกานบุรี
ประดับ ระบิลวงศ์ เป็น พระเจ้าหงสา
ไววิทย์ ว. พิทักษ์ เป็น เจ้าบุเรงเมืองหงสา
หลวงสมัครนันทพล เป็น อัครมหาเสนาบดีเมืองหงสา
ประสาน ศรีพิเทศ เป็น สมุหพระราชพิธีเมืองหงสา
มาลัย รักตประจิตต์ เป็นทหารคนสนิทของอัครมหาเสนาบดีเมืองหงสา

ที่มา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

นี่คือเรื่องราวของกษัตริย์องค์หนึ่ง ซึ่งครองกรุงอโยธยา เมื่อสี่ร้อยปีล่วงมาแล้ว พระองค์ทรงปกปักรักษาพระราชอาณาเขตด้วยพระขรรค์ของพระองค์เอง และทรงเสี่ยงพระชนม์ชีพเพื่อประชาราษฎร์ในแผ่นดินนี้ ซึ่งอุดมด้วยช้าง ช้างเผือกได้รับการนับถือว่าเป็นสิ่งสูงสุด ดังนั้นราษฎร์จึงถวายพระนาม พระราชาผู้เก่งกล้าของตนว่า “พระเจ้าช้างเผือก” พระนามของพระองค์ คือ พระเจ้าจักรา พระองค์ไม่ทรงโปรดสาวงามในราชสำนัก แต่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อความผาสุขของราษฎร ทรงกล้าหาญชาญชัยในการศึก แต่ทรงรักสันติภาพ และสันติภาพ คือ สิ่งที่ภาพยนตร์นี้อุทิศให้

พระเจ้าช้างเผือก เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่มีเค้าโครงเรื่องจากสงครามช้างเผือกระหว่างอยุธยากับหงสาวดี โดยต้องการให้เป็นภาพยนตร์ที่ประชาสัมพันธ์ความเป็นรัฐชาติและปลุกใจให้คนไทยรักชาติ เนื่องจากภาวะของประเทศที่ใกล้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

ฉายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยฉายรอบปฐมทัศน์พร้อมกันที่ ศาลาเฉลิมกรุง สิงคโปร์ และ นิวยอร์ก

 

ผลงานวาดโดย ปยุต เงากระจ่าง



ฉายอีกครั้งเมื่อ 25 มีนาคม 2496
ที่ศาลาเฉลิมบุรี

ที่มาภาพ หนังสือพิมพ์รายวันสยามรัฐ มีนาคม พ.ศ. 2496

 

Share this article :

แสดงความคิดเห็น