Home » » FINAL SCORE 365 วัน-ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์

FINAL SCORE 365 วัน-ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์


FINAL SCORE 365 วัน-ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์

สด 365 วัน ตลอดปีไม่มีหยุดพัก

ปี 2310 ชายไทยอายุ 17 ปี ไปรบ

ปี 2549 ชายไทยอายุ 17 ปี ไปเอ็นทรานซ์

4 คน 4 ฝัน กับ 1 ทีม

โคตรฟุตเตจ 300 ชั่วโมง

ตัดต่อ 7 เดือน

เลิกกอง

ตากล้องหนีบวช

ซาวด์แมนหายสาบสู­ญ

กุมภาพันธ์ 2550 ชีวิตเอ็นทรานซ์จะคลี่คลาย

ทุกโรงภาพยนตร์

ทีมงานสร้าง : สารคดี (แนวภาพยนตร์) / GTH (บริษัทผู้สร้างและจัดจำหน่าย) / จิระ มะลิกุล, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, ยงยุทธ ทองกองทุน, เช่นชนนี สุนทรศารทูล, สุวิมล เตชะสุปินัน (อำนวยการสร้าง) / โสรยา นาคะสุวรรณ (ผู้กำกับภาพยนตร์)

ตามติดชีวิตจริงของ : สุวิกรม อัมระนันทน์, สราวุฒิ ปั­­าธีระ, วรภัทร จิตต์แก้ว, กิตติพงศ์ วิจิตรจรัสสกุล


ชีวิตที่ถูกฟันธงของเด็กไทยวัย 17 ปี

ชายไต้หวันวัย 17 ไปเกณฑ์ทหาร

หนุ่มอเมริกันวัย 17 เก็บของออกจากบ้าน

เจ้าหนูบราซิเลียนวัย 17 ทดสอบฝีเท้าเข้าสโมสรฟุตบอล

เด็กญี่ปุ่นวัย 17 แบ็กแพ็คมากินซูชิที่ถนนข้าวสาร

แต่…วัยรุ่นไทยวัย 17 ต้องไปเอ็นทรานซ์

วัน-เดือน-ปี เวียนผ่าน เด็กไทยวัย 17 สอบเอ็นท์กันมาชั่วนาตาปี

ปี 2549 ปีนี้ไม่เหมือนปีไหน ๆ

เพราะมันเป็นปีที่ปฏิทินการเมืองร้อนระอุด้วยม็อบกู้ชาติ

ปีที่ใคร ๆ ก็ถามไถ่ “ไปพารากอนมารึยัง?”

ปีที่ขวัญ­และกำลังใจของนักเรียน ม.6 แหลกสลาย เมื่อพระพรหมเอราวัณถูกทุบทำลาย ที่สำคัญ­ มันเป็นปีแรกของการประกาศใช้ระบบ “แอดมิชชั่นส์” ที่ไม่เกี่ยวอะไรทั้งสิ้นกับการ แอดมิด เข้าโรงพยาบาล

ปีนี้…วัยรุ่นไทยวัย 17 ที่อยากเอ็นทรานซ์ต้องสอบ โอเน็ต-เอเน็ต

สดจากโรงเรียน กองถ่ายภาพยนตร์สุดอึดจาก GTH ทุ่มเทเวลา 1 ปีเต็มเฝ้าติดตามชีวิตของนักเรียน ม.6 จำนวน 4 คนในปีที่พวกเขาก้าวเข้าสู่สนามการแข่งขันที่ดุเดือดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต โดยไม่รู้ว่าพระเจ้าจะดลบันดาลใจให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

หลากหลายความฝัน, หวัง และ ลุ้น ของเด็กอายุ 17

ชีวิตของทีมงานกลับถูกลิขิตโดยเด็กอายุ 17 จันทร์-ศุกร์ ต้องไปโรงเรียน, เสาร์-อาทิตย์ พาพ่อแม่ไปช้อปปิ้ง โดยเฉพาะเมื่อการตรวจคะแนนของโอเน็ต-เอเน็ต ประสบปัญ­หา…โอ้ละหนอ โอเน็ต-เอเน็ต เมื่อไหร่คะแนนเจ้าจะฟันธงออกมา

อยากปิดกล้องแล้วโว้ย!

แต่ละปีเด็ก ม.6 ทั่วประเทศกว่า 200,000 คน

ยื่นใบสมัครสอบเอ็นทรานซ์

จากจำนวนนี้ 160,000 คนคือ ผู้ผิดหวัง!

4 คน ในจำนวนนี้ เข้าสอบเอ็นทรานซ์ด้วยระบบ O-Net / A-Net

ชีวิตเอ็นทรานซ์ของพวกเขาจะผิดหวังหรือไม่

ตามติดชีวิตการเตรียมตัวสอบ 365 วัน ต่อจากนี้ แบบไม่มีวันหยุด เพื่อเฝ้าดูช่วงเวลาสำคัญ­

ไม่มีใครรู้ผลลัพธ์สุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร

เด็กเอ็นท์หมายเลข 1 : สุวิกรม อัมระนันทน์ (นายเปอร์)

เป้าหมายคณะที่อยากเอ็นทรานซ์ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา

ผลเอ็นทรานซ์ : ?

เด็กเอ็นท์หมายเลข 2 : วรภัทร จิตต์แก้ว (นายลุง)

เป้าหมายคณะที่อยากเอ็นทรานซ์ : คณะนิเทศศาสตร์

ผลเอ็นทรานซ์ : ?

เด็กเอ็นท์หมายเลข 3 : กิตติพงศ์ วิจิตรจรัสสกุล (เพื่อนเรียกนายบิ๊กโชว์)

เป้าหมายคณะที่อยากเอ็นทรานซ์ : คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผลเอ็นทรานซ์ : ?

เด็กเอ็นท์หมายเลข 4 : สราวุฒิ ปั­­าธีระ (นายโบ๊ท)

เป้าหมายคณะที่อยากเอ็นทรานซ์ : ใจจริงอยากเข้าคณะประมง เพราะเป็นคณะที่ใฝ่ฝัน แต่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวครอบครัวไม่สนับสนุน เนื่องจากครอบครัวอยากให้เรียนบั­ญชี

ผลเอ็นทรานซ์ : ?


หนังที่ไม่มีบท ไม่มีสคริปต์

Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์

ความเห็นของผู้ที่ได้เฝ้าดูชีวิตเด็กเหล่านี้

จาก 7 เดือนเต็มกับการตัดต่อฟุตเตจกว่า 300 ชั่วโมง จนได้ภาพยนตร์ความยาว 95 นาที ที่จริงยิ่งกว่าเรื่องไหน

“หนังเท่ห์มาก ตอนดูอยู่ผมอยากจะเข้าไปในหนัง แล้วตะโกนบอกน้องๆ ว่าเดี๋ยวเอ็นทรานซ์ก็จะผ่านเราไป มันแค่จุดที่ชีวิตต้องลากผ่าน” (ป๊อด โมเดิร์นด๊อก เด็กเอ็นท์ปี 2533)

“ผมไม่นึกว่าจะมีคนทำหนังอย่างนี้ออกมา ทั้งจริง ทั้งธรรมชาติ โชคดีที่เด็ก ๆ พวกนี้มีครอบครัวที่ดีมาก” (กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิจารณ์ เด็กเอ็นท์ปี 2506)

“ผมว่าหนังมันฮิตได้เลยนะ ผมชอบฉากที่พวกเขาคุยกันที่ทะเลที่สุด เพราะรู้สึกว่าเป็นวัยรุ่นมันเคว้งคว้างมากเลยนะ” (คงเดช ผู้กำกับภาพยนตร์ “เฉิ่ม” เด็กเอ็นท์ปี 2532)

“ทุกฉากที่ดู ผมนึกถึงตัวเองตอนเป็นวัยรุ่น ล่วงหน้าไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่บิ๊กโชว์เครียดจนไม่ให้ถ่ายทำ แต่ผมก็เข้าใจความเครียดของเขาได้” (ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ เด็กเอ็นท์ปี 2525)

“ผมชอบฉากที่เปอร์ถามแม่ว่า ‘ทำไมคุณแม่ถึงรักคุณพ่อ’ ครอบครัวนี้ทำเอาหลังผมไม่ติดเบาะตั้งแต่ต้นจนจน” (นันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์)

“สนุกกว่าหนังวัยรุ่นทุกเรื่องที่ผมเคยดูมา โคตรลุ้นเลย” (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บก. a day)

“สำหรับผม ระบบการสอบจะเป็นไงไม่สนใจ ถึงเวลาเอากระดาษสอบมา แล้วซัดอย่างเดียว” (นาคร ศิลาชัย เด็กเอ็นท์ปี 2528)

“ฉากที่ลุงถามว่า ความรู้คืออะไร? เขาอาจจะแค่ถามกวนตีน แต่ผมกลับสะอึก หรือสิ่งที่เราวิ่งไขว่คว้ามาตลอดนั้นไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นเพียงแค่บัตรผ่านไปสู่เรื่องอื่น ๆ ในชีวิต” (ภิ­ญโญ­ ไตรสุริยธรรมา ผู้บริหาร สนพ. OPEN BOOK เด็กเอ็นท์ปี 2530 )

“ทุกฉากที่เปอร์เผชิ­ญหน้ากับคุณแม่ ถือเป็นการเชือดเฉือนบทบาทครั้งสำคั­ญไม่แพ้หนังของมาร์ติน สกอร์เซซี่ ที่มักเอาดาราดัง ๆ มาเฉือนบทกัน” (ยุทธนา บุ­ญอ้อม เด็กเอ็นท์ปี 2529)

“เอ็นทรานซ์คือ การพนัน สมัยนี้รู้ผลก่อน สมัยก่อนลุ้นผลทีหลัง จะได้ตามฝันหรือจะได้เตะฝุ่น วัดกันแมน ๆ” (จรัสพงศ์ สุรัสวดี เด็กเอ็นท์ปี 2520)


โสรยา นาคะสุวรรณ กับหนังที่ไม่มีบท ไม่มีสคริปต์ ของเธอ

Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์

รอยอดีตบนเส้นทางสายเก่าของ แอน – โสรยา นาคะสุวรรณ ผู้กำกับ Final Score

…อดีตเพื่อนห้องเดียวกันกับ เดียว – วิชชา โกจิ๋ว 1 ในผู้กำกับ “แฟนฉัน” เมื่อสมัยอยู่โรงเรียนบดินทรเดชาแต่พอเวลาผ่านไป กลับผันตัวเอ็นทรานซ์กลายไปเป็นรุ่นน้องเดียวที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยความที่เดียวสอบเทียบแล้วสอบเทียบอีกจนกลายไปเป็นรุ่นพี่ซะแทน

…จากนั้นโสรยาก็หอบหิ้วกระเป๋าเดินทางใบโข่งไปสถิตย์รกรากอยู่อังกฤษเพื่อเรียนต่อปริญญ­าโท History of Art (Twentieth Century) Goldsmiths College, University of London London, England

…ปัจจุบันละทิ้งการทำวิทยานิพนธ์ชั่วคราวตอนเรียนปริ­­ญญาเอก ประวัติศาสตร์ศิลปะ จากประเทศอังกฤษ ที่เธอทำเกี่ยวกับหนังลงกลางคันแล้วกลับมา “ทำหนัง” จริง ๆ ที่เมืองไทย

ที่มา : บริษัทผู้สร้าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ภาพยนตร์
จุดริ่มต้น


จุดริ่มต้นของ Final Score

…ไอเดียของหนังเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นที่ จิระ มะลิกุล ผู้ที่รู้สึกว่าชีวิตของเด็กไทยวัย 17 ปี นั้น มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเด็กไทยในช่วงวัยนี้ โดยเฉพาะชายไทยอายุ 17 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2310 ส่วนให­่จะต้องออกไปสนามรบ

…แต่พอมายุคนี้ ปีนี้ พ.ศ. 2549 เด็กไทยอายุ 17 ปี ทั้งห­ิงชายจะต้องออกไปสนามสอบเอ็นทรานซ์ ซึ่งสุดท้ายแล้วผลของมันก็คือ มีผู้คนล้มตายเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะ พ.ศ.ไหนก็ตาม กี่ชีวิตที่ต้องผิดหวังไปตาม ๆ กัน กี่ชีวิตที่ตายด้วยความเครียดเพราะเอ็นทรานซ์ไม่ติด

…ช่วงชีวิตของเด็ก ม.6 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าสนามสอบเพื่อย่างกรายเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยนั้นน่าจะเป็นเรื่องราวที่มีสีสัน สนุกสนาน มีอารมณ์ที่หลากหลาย ไหนจะต้องเป็นพี่ใหญ­่ปีสุดท้ายในโรงเรียนมัธยม ไหนจะต้องดูหนังสือเตรียมสอบให้ติดเพื่อเอาใจพ่อแม่

…จิระ พยายามหาคนที่จะมาทำโปรเจ็คท์นี้อย่างจริงจัง โดยที่เขาจะเป็นโปรดิวเซอร์ให้เอง จนในที่สุดก็ได้ แอน – โสรยา นาคะสุวรรณ ผู้ช่วยผู้กำกับที่ 4 จากหนังเรื่อง มหา’ลัย เหมืองแร่ ซึ่งย่ำดินย่ำโคลนกันมาสองสามเดือนตอนอยู่พังงากับจิระ สมควรจะมาทำให้โปรเจ็คท์นี้เกิดเป็นหนังขึ้นมาจริง ๆ

จิระ ฟันธง! เลือก โสรยา ด้วย 5 เหตุผล

“ฟันธง!” จิระบอก “ผมว่าต้องโสรยาเท่านั้น ที่จะมาสานฝันโปรเจ็คท์ในฝันของผมให้เป็นจริง ผมว่าเค้าเหมาะที่จะมาเป็นผู้กำกับและดูแลเรื่องนี้” เหตุผลน่ะเหรอ ฮ่า ๆ ๆ ๆ จิระหัวเราะร่า “ผมว่า โสรยาเป็นคนอึดนะ อึดมาก ๆ ด้วย ตอนที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับที่ 4 ใน มหา’ลัย เหมืองแร่ ของผม ผมเห็นสิ่งนั้น โสรยาเป็นคนที่มีสิว แต่ก็เป็นผู้ห­ญิงหน้าตาดี อีกทั้งยังเป็นคนที่มีพรสวรรค์ด้วย โสรยาเป็นคนที่ใคร ๆ ก็อยากจะคุยด้วย พอได้คุยกับเค้าแล้วก็รู้สึกอยากจะเล่าความลับบางอย่างให้ฟัง โสรยายังได้รางวัลจากการทำสารคดีอีกด้วย นอกจากนี้ข้อที่สำคั­ญคือ ความที่โสรยาเป็นผู้ห­ญิงนี่แหละ ที่จะทำให้สามารถแทรกซึมตัวเองและทีมงานเข้าไปอยู่ในครอบครัวของเด็กที่เราจะไปตามบันทึกภาพได้อย่างไม่น่าเกลียด”

นักเดินทางทำงาน

…ด้วยหลายเหตุผลที่จิระมอง เพราะตั้งแต่เคยร่วมงานกันใน มหา’ลัย เหมืองแร่ มานั้น จิระก็เห็นแววหลาย ๆ อย่างของโสรยา โดยเฉพาะเรื่องของการทำงานที่เข้าตาของเธอ แต่ก่อนหน้าที่เธอจะมาร่วมงานกับจิระ เธอก็ผ่านการทำงานมาหลากหลายอย่าง อาทิ ทำงานในตำแหน่งคอนทินิว เคยเป็นฝ่ายประสานงานให้กองถ่ายหนังต่างประเทศ โสรยายังเคยทำสารคดีเป็นธีสิส “อเมซิ่งไทยแลนด์” ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของโสเภณี เมื่อตอนเรียนปริ­­ญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งโสรยาก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ รางวัลช้างเผือกจากมูลนิธิหนังไทยในปี 2541 ด้วย แต่งานนี้โสรยาจะทำสำเร็จหรือไม่นั้น สวรรค์เท่านั้นที่รู้

เติมน้ำสาบานก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์

…โสรยาขับรถจากเชียงรายมาคุยเรื่องโปรเจ็คท์นี้ด้วยใจระทึกที่เชียงใหม่ เมื่อต้นปี 2548 ตอนที่มีกองถ่าย วัยอลวน 4 ที่กำลังถ่ายทำอยู่ที่นั่น หลังจากคุยกัน ในที่สุดโสรยาก็รับปากกับจิระว่าจะทำโปรเจ็คท์นี้ จิระจึงเรียกรวมพลโสรยาและทีมทำงาน อันได้แก่ ผู้กำกับ ตากล้อง ซาวด์แมน ผู้จัดการกองถ่าย ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย และคนขับรถ รวมแล้วมีทีมงานทั้งหมดแค่ 6 คน ให้มาร่วมดื่มน้ำสาบานกันก่อนเริ่มงานเพื่อเป็นการยืนยันกันว่า ห้ามลาออกกลางทางนะโว้ย! เพราะว่านี่คืองานของคนบ้าชัด ๆ ห้ามลาออกถึงแม้ว่าทีมงานจะไม่มีวันรู้ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ เพราะถ้าสุดท้ายแล้วหนังตัดออกมาแล้วไม่ได้เรื่อง ก็คงจะต้องโยนหนังทิ้งทั้งเรื่อง

…ด้วยความสนใจในเรื่องการทำสารคดีอยู่แล้ว จากโจทย์ที่จิระให้ว่ามันจะเป็นหนังที่ไม่มีบท ไม่มีสคริปต์ ก็เหมือนกับการนำเอาเรื่องจริงมานำเสนอ มาเล่าเป็นเรื่องราว เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ความจริงที่บันทึกเอาไว้มาทำให้น่าสนใจ และเล่าออกมาเป็นเรื่องราวอย่างไรให้มันสนุกและมีสีสัน

ล้อหมุนแล้วไม่มีวันหยุด

…โสรยาเริ่มหาเด็ก ๆ ตามแหล่งต่าง ๆ ที่เด็กวัยรุ่นชอบไป ทั้งโรงเรียนกวดวิชา ห้างสรรพสินค้า หาทั้งห­ญิงและชาย ทั้งที่เรียนเก่งและเรียนอ่อน คัดจนได้เด็กหลายคนที่มีความน่าสนใจจริง ๆ

แรกเริ่มเดินทางไกล

…เมื่อเริ่มแล่นเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียนเป็นวันแรก ทีมงานของโสรยาก็เปรียบเหมือนมินิออสตินที่ทำตัวเล็กลีบอยู่ท่ามกลางกลุ่มรถบรรทุก ทั้ง ๆ ที่พยายามแฝงตัวให้ดูกลมกลืนแล้วแต่ก็ยังคงถูกเด็กๆมองด้วยความระแวง สงสัย ว่าไอ้พวกนี้มันมาทำอะไรกัน มาอยู่ได้ทุกวัน ส่วนตากล้องแมน ๆ ของโสรยาก็ถึงกับเครียดกับการที่ต้องใช้ชีวิตคอยบันทึกภาพอยู่ในโรงเรียนชายล้วนทั้งวัน แถมเมื่อตามกลับบ้านทีมงานก็ยังต้องไปหลังขดหลังแข็งนั่งอยู่ในบ้านเปอร์ทั้งคืน เรียกว่านอนทีหลังและตื่นก่อนทุกค่ำเช้า

…เวลาผ่านไปวันแล้ววันเล่า ทีมงานทุกคนต้องอดหลับอดนอน บวกกับความเหนื่อยล้า ที่เข้าขั้นสาหัส ทีมงานต้องเฝ้าดูการดำเนินชีวิตของแต่ละคนกันไปอย่างต่อเนื่อง เผื่อว่าอยู่ ๆ จะมีเรื่องราวอะไรที่จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว ดังนั้นทีมงานจะพลาดไม่ได้ เพราะจะถ่ายใหม่ก็ไม่ได้ เนื่องจากอยากได้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นจริง ๆ

ความเครียด ความกดดัน ที่เกิดขึ้นขณะขับเคลื่อน

…ตากล้อง และ ซาวด์แมน ของเราทำงานกันหนักที่สุด แต่ทีมงานของโสรยาทุกคนก็พยายามกันอย่างหนัก กล้องที่ใช้บันทึกเรื่องราว น้ำหนักกว่า 3 กิโลกรัมนั้นแทบจะเป็นอวัยวะส่วนเดียวกันกับตากล้องไปแล้ว ส่วนซาวด์แมนของโสรยาก็อ่อนล้ากับการที่จะต้องถือบูมแล้วห้อยเครื่องอัดเสียงกันทุกวัน ซึ่งการตามบันทึกภาพแบบนี้ จะพักหรือวางอุปกรณ์การถ่ายแทบจะไม่ได้ เพราะภาพหรือเหตุการณ์ต่อไปที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจจะน่าสนใจจนต้องตามถ่ายไปอีกไม่รู้กี่ชั่วโมง วันเวลาผ่านไป จากวันเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน จนทีมงานเข้าใกล้จะถอดใจโยนผ้ายอมแพ้ กระทั่งบางอาทิตย์ทีมงานก็กลับบ้านไปพร้อมกับฟุตเตจที่ใช้อะไรไม่ได้เลย

ดื่มน้ำสาบานไปแล้ว จะเลิกก็ไม่ได้

…ชีวิตในแต่ละวัน เหนื่อยแทบขาดใจ การทำงานในทุก ๆ วันต้องใช้เวลาที่เยอะมากกว่าที่จะมีเวลาพัก ทุกคนต้องพร้อมและอึดกับมันมาก ๆ แทบไม่มีวันเวลาได้หยุด มันเป็นการเรียนรู้สำหรับทีมงานทุกคนไปด้วยในตัว และมันก็หนักหนาสาหัสกันจริง ๆ กับช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านไป จนมีคำพูดที่ฮิตพูดกันในกองถ่ายว่า “ทำไปได้ !” ทีมงานเคยคิดที่จะเลิกหรือหยุดพักสักระยะ แต่ก็ทำไม่ได้ ทำไม่ได้เพราะร่วมดื่มน้ำสาบานกันไปแล้ว เอาวะ มาจนถึงขั้นนี้แล้ว สำหรับทุกคนมันเป็นเวลาที่ผ่านไปนานมาก ๆ แต่ก็เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ทำให้ทุกคนได้ประสบการณ์ที่มีค่าอย่างมาก

น็อตหลุด

…จากภารกิจที่ต้องคอยตามเด็กเอ็นท์มาทั้งปี ครั้นพอเด็กจะเอ็นท์จริง ๆ พี่ ๆ ทีมงานทั้งหลายก็กลายมาเป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาอังกฤษให้เด็ก ๆ ไปแทน กว่า 365 วัน ที่ชีวิตทีมงานต้องทุ่มเทไปกับการตามบันทึกภาพของเด็ก ๆ กลุ่มนี้ จนในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็เริ่มคลี่คลาย ผลสอบเอ็นทรานซ์ที่ดูจะมีปัญ­หาก็ถูกคลี่คลายกันไป ชีวิตใหม่ ๆ ของเด็กแต่ละคนกำลังจะเริ่มต้นขึ้นอย่างสดใส ในขณะที่พลังชีวิตของทีมงานกำลังจะดับลง หลังจากปิดกล้อง รวบรวมฟุตเตจที่ยาวนานกว่า 300 ชั่วโมง มาแบ่งแยกตามวันเวลาที่ถ่ายไป เพื่อนำฟุตเตจไปใช้ตัดต่อเป็นหนัง

…สุดท้ายทีมงานแต่ละคนต่างก็กระจัดกระจายหายตัวกันไปอยู่ช่วงหนึ่ง ตากล้องของเราถึงกับขอลาไปบวชสักระยะ ซาวน์แมนก็หายสาบสู­ไป “หมายเลขที่ท่านเรียกไม่สามารถติดต่อได้ในขณะนี้” ตัวผู้ประสานงานกองถ่ายก็กลับไปช่วยที่บ้านขายอาหารที่ต่างจังหวัด ทุกคนล้วนอ่อนล้าอย่างบอกไม่ถูก “ไม่ไหวแล้ว”

ก่อนดับเครื่อง

ฟุตเตจที่ยาวถึง 300 กว่าชั่วโมง คือสิ่งที่ “โบว์” มือตัดต่อหญิ­ิงร่างเล็ก ต้องนั่งดูภาพกันจนตาแฉะ มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 เพื่อคัดเลือกภาพ และนำเอาภาพเหตุการณ์ชีวิตจริงที่ถูกบันทึกไว้ตลอดช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น มาบอกเล่าร้อยเป็นเรื่องราวให้มีสีสัน มีความสนุก มีชีวิตและมีอารมณ์ แต่ตอนนี้ตากล้องที่เคยหนีไปบวชอยู่พักหนึ่งกลับมาแล้ว กลับมาช่วยกันดูแลหนังเรื่องแรกนี้ให้พร้อมออกมาในทิศทางที่มันควรจะเป็น และการที่ไม่มีบทนี้เอง ทำให้หนังเรื่องนี้ถูกตัดต่อไปถึง 12 เวอร์ชั่น

เส้นทางที่ผ่านมา

…หลังเรียนจบจนถึงตอนนี้โสรยาไม่ได้คิดหรือกำหนดเป้าหมายในชีวิตตัวเอง ว่าจะไปทำหนังตอนไหน เพียงแต่เธอมีใจกับการทำหนังอยู่ตลอด ช่วงที่เรียนปริ­­าเอก ประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่อังกฤษนั้น ระหว่างที่เธอเบื่อทำวิทยานิพนธ์ เธอก็สอบชิงทุนเรียนคอร์สสอนทำหนัง 16 มม. เป็นเวลา 1 ปี ยามว่างก็ทำวีดีโออาร์ตส่งไปตามงานเทศกาลต่าง ๆ และช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ที่อังกฤษ โสรยาก็เน้นเรื่องการใช้ชีวิตมากกว่า โสรยาไปเป็นเด็กเสิร์ฟ ไปทำงานในโรงละคร ใช้ชีวิตไปเรื่อยเปื่อย เพราะรู้สึกว่าอยากทำ อยากใช้ชีวิตแบบนั้น ตอนนั้นโสรยามองว่า การทำหนังไม่ใช่สิ่งสำคั­สำหรับโสรยาขนาดนั้น ซึ่งโสรยาก็ไม่คิดเหมือนกันว่า ชะตาชีวิตนำพาโสรยาจากลอนดอนมาสู่โรงเรียนสวนกุหลาบ และใช้ชีวิตอยู่ในนั้นวันละหลาย ๆ ชั่วโมงจนกินเวลาเป็นปี ๆ ได้อย่างไร

เส้นทางที่จะขับเคลื่อนต่อไป

…หลายขั้นตอนในการทำงานได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ก็ถือเป็นช่วงที่โสรยาและทีมงานได้ซึมซับช่วงเวลาแห่งความทรมานและรันทด แต่คุ้มค่ามากพอที่จะปลุกปั้นกันต่อไปกับขั้นตอนสุดท้ายของ ฟุตเตจกว่า 300 ชั่วโมง หลังจากประคบประหงมมานานเพื่อที่จะนำภาพทุกนาทีชีวิตของเด็กไทยวัย 17 ที่เตรียมตัวจะเอ็นทรานซ์ให้ออกมาเป็นหนังความยาว 95 นาที ซึ่งพร้อมรอให้ทุกคนได้เฝ้าชมนาทีชีวิตจริงที่ไม่อิงบทหรือสคริปต์ใด ๆ กันแบบเต็ม ๆ ตาเรื่องนี้


365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์ : หนังสารคดี หรือ หนังสาระดี-ดี ???

เขียนโดย Obelisk
อังคาร, 30 มกราคม 2007

เมื่อพบว่าแรงขับเคลื่อนของชีวิต พามาถึงคราหักเห ด้วยคำว่า ENTRANCE เด็กไทยจำต้องสะกดความหมายคำนี้ให้ขึ้นใจ ปี 2549 ปีแรกของระบบการศึกษาไทยใช้ศัพท์วิชาการให้เด็กกึ่งงง กึ่งโง่ อย่าง โอเน็ต เอเน็ต ทุกตัวเลขคะแนนมีความหมายในการทำให้เด็กแปรสภาพนักเรียนเป็นนักศึกษา ตัวเลขยิ่งมากค่าคะแนน รอยยิ้มของชัยชนะยิ่งผุดพราย มหาวิทยาลัยคือทางออกทุกอย่างของชีวิตทางเดียว?

พี่แอน โสรยา นาคะสุวรรณและผองทีมงาน หิ้วกล้องตามถ่ายทำบันทึกชีวิตเด็กที่กำลังจะเอ็นท์ เรียกตัวเองว่า “หนังสารคดี” บนความคิดที่ว่า “เราสนใจระหว่างไอ้เส้นความเป็นจริงในสารคดีกับความเป็นจริงมากกว่า ว่ามันสร้างความรู้สึกยังไงในหนังได้บ้าง” หลังสุ่มหาจนได้ตัวเลือกที่คิดว่าใช่ ของเด็กชาย ม.6 ที่ชื่อ เปอร์, บิ๊กโชว์, ลุง, โบ๊ท เพราะนี่คือหนึ่งกลุ่มตัวอย่างที่จะเข้าสู่กระบวนการคัดสรรทางการศึกษา ชาร์ล ดาร์วิน บอกไว้ว่าผู้แข็งแรงกว่าย่อมชนะ วันเดือนปีนี้ยังคงใช้ประโยคนี้ได้คมในทุกสถานการณ์

เปอร์ นำพาทีมงานและกล้องติดตามเข้าไปล่วงล้ำในซอกชีวิตของเขา เด็กชายที่ฉันตกหลุมรักทันทีด้วยเหตุผลส่วนตัว คือหน้าตาถูกใจ คือคนที่ทำให้เราตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูด เขาถามอย่างโยเย บ้านคือโลเกชั่นที่เต็มไปด้วยมุขคำถามใคร่รู้ของเด็กชาย สารพัดที่หลุดคำออกมาจากปากอย่างคะนองวัย การรบรากับแม่ด้วยสงครามแห่งวาทะ การห้ำหั่นด้วยเหตุผลที่เปอร์คิดว่าตัวเองมี เปอร์โชคดีที่มีแม่ ที่มีความพยายามเหลือเกินที่สู้ทนอาการป่วนปั่นของเขา ทับถมหลุมโหว่แห่งความเดียงสาวัยไปด้วยหลักการของผู้ผ่านโลกมาก่อน

ทุกประโยคที่เปอร์ต่อปากต่อคำกับแม่เรียกเสียงหัวเราะ ฮาลั่นกับอาการยียวน

หลายครั้งที่เปอร์พูดกับกล้อง บอกกับคนดู อย่างเป็นนิยาย ทั้งนิยามความรักที่เด็กชายคิดเอาเอง

แต่เมื่อเราเคยมีวัยเท่านั้น องศาความคิดคงไม่ได้เหวี่ยงหมุนรอบด้านอย่างปราดเปรื่อง แม้กระทั่งทุกวันนี้เมื่อความฉลาดไม่ได้สูงขึ้นตามตัวเลขอายุ

อกหัก ใจหาย โลกมืดฉิบ เซ็งโคตร ไม่อยากทำอะไรต่อ ดูโง่ ๆ แต่ก็โง่กันได้ทุกคนไม่เว้นหน้าไหน แล้วมันก็ผ่านพ้น

ภาพบิดาในอาชีพวิศวะเป็นต้นแบบ ทำให้เปอร์มีความตั้งใจที่จะเอ็นทรานซ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา เพื่อจะแทนค่าให้ได้ใกล้เคียงอย่างต้นแบบที่มีให้เห็น ตอนหนึ่งของหนังที่เปอร์ต้องนั่งตอบคำถามว่าทำไมต้องวิศวะ ทำให้คนดูรู้ว่าเด็กชายมีความนึกคิดของศาสตร์ศึกษาวิชาการนั้นกับการใช้ชีวิตได้อย่างน่าปรบมือ ในขณะที่ยังโลดแล่นของวัย เขาต้องงัดใช้อะไรอีกมากที่จะไปให้ถึงเป้าหมายการศึกษานั้นได้ วันเดือนปีที่ผ่านในแต่ละวันดูคล้ายเด็กชายจะไม่ได้ใส่ใจกับความน่ากลัวของคำว่าเอ็นทรานซ์แต่อย่างใด

แต่เมื่อนาทีสุดท้าย ของคะแนนสุดท้าย Final Score นักเรียนทุกคนก็อยู่ในภาวะเดียวกันคือ เครียดอย่างที่สุดเมื่อฝากชีวิตตรึงอนาคตไว้กับมัน

โบ๊ท เด็กชายที่มีความชัด พูดชัด ๆ ยิ้ม ๆ ถึงสิ่งที่เขาฝันอยากเป็น ความฝันที่มีต้นกำเนิดมาจากความรัก และวิธีการที่โบ๊ทเลือกทำกับการเลือกเอ็นทรานซ์สักคณะ เอ็นทรานซ์เพื่อใคร? เอ็นทรานซ์เพื่อเอาใจคนทั้งครอบครัว ไม่ได้ผิดแผกไปจากหลังคาบ้านอื่น อีหรอบนี้ ตามจารีตประเพณีจึงลงท้ายที่เด็กต้องตกจากภาวะหลับฝันบนที่สูงมาเดินตามบัญชาผู้ใหญ่ต้อย ๆ

ลุง กับคำถามสุดเด็ดที่โสรยา ฝากถามกับคนดูอ้อม ๆ แต่ทำทีเป็นเสถามเด็กทะโมนเหล่านั้น “ความรู้คืออะไร” ขณะที่ลุงตะโกนถามเพื่อนคนโน้นคนนี้ไปพลาง อย่างเห็นขำ คนดูนิ่งเงียบ ฉิบละสิ กูยังไม่รู้เลยว่าความรู้คืออะไร ผลคือการเอาใจช่วยให้ลุงได้คำตอบที่น่าจะใช่จากใครสักคน เพราะเรายังไม่เคยแม้แต่จะลุกมาถามตัวเอง หรือถามใครต่อใครว่า “ความรู้คืออะไร” จึงไม่เคยได้รับคำตอบกลับมา

บิ๊กโชว์ เด็กชายอ้วนอวบ ที่เอาเข้าจริง ๆ ก็ก้มหน้าก้มตาคร่ำเคร่งกับการฝากเวลาไว้กับการอ่านหนังสืออย่างมุมานะ

บทสุดท้ายที่ทุกคนฝากชีวิตไว้กับผู้ขีดเส้นชะตาชีวิตที่ไม่ใช่พระพรหม แต่เป็นพระเจ้าที่ชื่อ O-Net A-Net พระเจ้าจะช่วยเราทำข้อสอบได้ไงวะ ในเมื่อยังมีเด็กอีกเป็นแสนคนลอยคอรอคอยความช่วยเหลือนั้นอยู่เหมือนกัน

เด็กชายแต่ละคนแสดงพลังงานบนสารคดีไปตามประสาความแรงของวัยที่พึงมี ครอบคลุมไปด้วยความสนุกสนาน เฮฮา แน่นอนว่าหนังจัดโทนไว้ได้อย่างบันเทิง ตามเส้นระนาบการตัดต่อที่ว่า หนังคือความจริงที่อัตราเร่ง 24 เฟรมต่อวินาที

เมื่อหนังมีปะหัวไว้ด้วยตรา GTH, มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว, โครงการไม่สูบ ไม่ดื่ม จึงไม่ใช่เรื่องเกินคาดเดาว่า กูต้องได้ดูสารคดีที่มีความเป็นหนัง Feel Good อีกแน่ ๆ นั่นคือการโดนตบชีวิตในหนังให้อยู่ในกรอบดี ๆ ตามทางเดินที่เจริญก้าวหน้าของเหล่า 365 ฟิล์มที่เคยทำมา เมื่อบางเรื่องใช้ได้ผลดีกับคนดู (วัดจากรายได้ทุกรอบ ทุกโรง รวมกัน) ผลลัพธ์จึงซวยตามมาว่าเรื่องต่อไป กูได้ดูแบบนี้อีกแน่ ๆ โชคดีที่ “เก๋า..เก๋า” เป็นผลร้ายกับการตบคนดูมากไป ไม่เวิร์ค หนังตายคาที่ ความเป็น Feel Good จึงค่อย ๆ ลดพลังกับคนดู แผ่วลงแผ่วลง และแผ่วลง เมื่อความเฝือระอา มาเยือน

เอ เขียนไปเขียนมาเอนเข้าทางด่า “เก๋า เก๋า : อวสานตำนาน Nostalgia” อีกละ อิอิ

สารคดีที่ใช้ชีวิตคนทำติดตามแหล่งกำเนิดของหนัง คนกับคนที่อยู่ร่วมกันมากค่ากว่าแค่ตัวละครหนึ่ง จึงน่าเสียดายที่หนังตัดห้วงเวลากว่า 365 วัน ออกมาได้แค่การตัดทอนชีวิตของกลุ่มพลังงานนั้นออกมาด้านเดียว ให้โชว์แค่ด้านเดียวที่เป็นเส้นตรง เห็นเป็นหนังชีวิตวัยวุ่นมันมันส์ วัยรุ่น วัย Seasons Change ที่ครื้นเครงหนุกหนานแบบมิตรภาพเพื่อนผองแฟนฉัน ตีด้วยมุข ตบด้วยเพลง ประคับประคองอารมณ์ไว้ด้วยความประนีประนอมต่อโลก ไม่ต่างไปจากการจัดฉากเลือกสรรสิ่งที่ดีที่คิดว่าคนดูจะชอบ เมื่อคิดแทนซะงั้น สรุปได้เลยว่าคนดูเราเลยได้ดูหนังที่มีคนคิดละเอียดยิบไว้ให้แล้ว ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเภทของสารคดี

1 ชั่วโมงกว่าที่ตัดออกมาเพื่อฉายเพื่อขายนั้น ขาดหายตกหล่นไปอีกกว่า 8,760 ชั่วโมง บางอย่างกระเสือกกระสนจะสำแดงฤทธิ์ตนออกมาก็ทำได้เพียงเป็นความพยายามเล็ก ๆ เท่านั้น ตราบใดที่ยังมีโลโก้บริษัทปะหัว หนังสารคดีเรื่องนี้ไม่มีทางแตกแถวแตกแขนงแตกยอดออกไปได้มากกว่านี้

บนเก้าอี้ของคนดูอย่างฉันยังเชื่อว่าเวลาที่แทรกในหนัง น่าจะมีบางช่วง บางตอนที่มีพลัง ที่เล่นกับคนเป็น ๆ ด้วยความรู้สึกอื่นมากกว่านี้ได้

เด็กกวน ๆ คงกวนตีนได้แรงกว่านี้ ลิ่วโลดผาดโผนผิดถูกเมามันกันไปอย่างที่มันเป็น อื่นใดในชีวิตที่ถูกบันทึกถ่ายได้คงต้องมีมุมที่กว้างกว่าซ่อนอยู่ อื่น ๆ ที่มีมากค่ากว่าแค่การจัดวางเรียงฟิล์มดลให้หนังสร้างอารมณ์เดิม ๆ แต่คุณไม่มีทางเห็น ไม่มีทางรู้ เพราะโลโก้ Feel Good บังคับบังอยู่คับจอ

ในขณะที่คนทำบอกว่ามันเป็นหนังสารคดี แต่บางสิ่งกระทบกลับแปรสภาพวัตถุดิบก้อนเนื้อสารคดีให้เป็นหนังสาระ ดี-ดี ไปเสีย

อย่างไรก็ตาม หนังสารคดีเรื่องนี้ยังคงมีความดีของมันดำรงอยู่ แม้จะถูกแปรปรวนด้วยการจับชูประเด็นเบนไปทางอื่นเพียงเพื่อทำให้ขายได้ก็ตาม

ถ้ามองในแง่ดีก็คือ มันเป็นปลายเปิดทางให้คนดูได้คิดถึงสิ่งที่มองไม่เห็นในหนัง

แต่ถ้ามองในแง่ร้าย อย่าให้บรรยายอีกเลยค่ะกลับไปอ่าน เก๋า เก๋า : อวสานตำนาน Nostalgia อีก 365 วันละกันค่ะ

ขอชื่นชมคนทำหนังที่ชื่อ “โสรยา นาคะสุวรรณและทีมงาน” ด้วยคำว่า “ขอบคุณค่ะ”

ยังไงพี่ก็ “เจ๋งโคตร” ค่ะ


Share this article :

แสดงความคิดเห็น