Home » » นนทรีย์ นิมิบุตร

นนทรีย์ นิมิบุตร


ปีเกิด (ภูมิลำเนา) :
2505 นนทบุรี, ประเทศไทย

ประวัติโดยย่อ :
จบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2530 ผ่านงานกำกับหนังโฆษณาและมิวสิควิดีโอ ก่อนจะกำกับภาพยนตร์เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) เป็นเรื่องแรก ผลงานเรื่องถัดมา คือเรื่องนางนาก (2542) ซึ่งกวาดรางวัลเกือบทุกสาขาที่เข้าประกวดจากทุกสถาบัน จันดารา (2544) THREE อารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต (2545) และ โอเค.เบตง (2546) เคยเป็นกรรมการสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ และ เคยเป็นนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 2 สมัย

ชีวิตบนแผ่นฟิล์มของ “นนทรีย์ นิมิบุตร”

“จริง ๆ แล้ว หลักการทำหนังของผมมันเรียบง่ายมากเลยนะครับ ผมยึดเอาความสุขเป็นหลัก ถือความอยากเป็นที่ตั้ง หนังทุกเรื่อง ทุกโปรเจ็คต์ ล้วนแต่เป็นความอยากของผมทั้งนั้น อยากเห็น อยากดู อยากรู้ อยากทำก็เลยทำ เพราะมันยังไม่มีใครทำให้ดู

มีคนเคยถามผมว่า ผมสนใจมั้ยว่าตลาดเขาต้องการอะไร ผมว่าผมสนใจ แต่ผมไม่ได้สนใจว่าตลาดต้องการอะไร แต่ผมสนใจว่าตลาดขาดอะไร คือผู้ชมทั้งหลายเขายังไม่ได้ดูอะไรจากหนังไทย เพราะฉะนั้นผมจึงมักจะไปเติมเต็มช่องว่างตรงนั้น และเราก็อยากเป็นคนที่เป็นก้าวแรกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อยู่เสมอ คืออะไรที่เขาทำไปแล้วเราก็ไม่ค่อยอยากทำ เพราะฉะนั้นถ้ามันมีอะไรใหม่ ๆ ที่มันน่าสนใจกว่า ยังไม่มีใครทำ ผมก็อยากจะทำตรงนั้น และทำมันอย่างเต็มที่ ให้ทุกผลงานออกมาสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้”

…โลดแล่นอยู่บนเส้นทางภาพยนตร์มากว่า 1 ทศวรรษ (2540-2551) กับผลงานคุณภาพมากมาย “นนทรีย์ นิมิบุตร” ถือเป็นผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้ควบคุมงานสร้าง (Producer) ที่สามารถได้รับการยกย่องอย่างเต็มปากว่า เป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยยุคใหม่ และช่วยฟื้นฟูให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเข้าถึงกลุ่มคนดูยุคใหม่ ๆ ได้มากขึ้น หลังจากที่ระหว่างยุค พ.ศ. 2530-2540 ภาพยนตร์ไทยได้อยู่ในภาวะตกต่ำมาเป็นเวลานาน รวมถึงเป็นผู้ที่เข้ามาพลิกโฉมหน้าภาพยนตร์ไทยให้ก้าวสู่ระดับสากลอย่างเต็มภาคภูมิอีกด้วย

ประวัติ “นนทรีย์ นิมิบุตร”

การศึกษา

– สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2530

ประสบการณ์การทำงาน

– เริ่มทำงานในวงการบันเทิงโดยการเป็นผู้กำกับมิวสิควิดีโอให้กับบริษัทผู้ผลิตเทปชั้นนำของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2517

– ผลิตงานสารคดีและละคร

– กำกับงานโฆษณาได้รับรางวัล แทคท์ อวอร์ด (TACT Award) ถึงสองครั้งจากโฆษณาโทรทัศน์ชุด “Max Liner” และ “Central Department Store”

– กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก “2499 อันธพาลครองเมือง” ในปี 2540 และเรื่องที่สองคือ เรื่อง “นางนาก” ในปี 2542 ทั้งสองเรื่องได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างมาก และได้รับรางวัลจากทั้งสองเรื่องหลายรางวัลด้วยกัน

– ก่อตั้ง บริษัท ซีเนมาเซีย จำกัด ร่วมกับ ดวงกมล ลิ่มเจริญ ในปี 2543 เพื่อร่วมกันสานฝันที่จะพัฒนาวงการภาพยนตร์ไทย

– เป็นกรรมการสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ และนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 2 สมัย

– เป็นคณาจารย์ในหลักสูตร Asian Film Academy หรือ AFA เป็นหลักสูตรที่ก่อตั้งขึ้นร่วมกับ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลี, คณะกรรมการภาพยนตร์เกาหลี, สถาบันศิลปะการทำภาพยนตร์ เกาหลี และมหาวิทยาลัย Dongseo มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวงการภาพยนตร์อาเซียนให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้กับคนทำหนังรุ่นใหม่ได้ Workshop ร่วมกับผู้กำกับมืออาชีพทั้งหลายของเอเชีย

เกียรติคุณที่ได้รับ

– รับรางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ มีนาคม 2545

– รับรางวัลนักศึกษาเก่าดีเด่นแห่งปี 2543 จากวิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร

– รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ จากภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” โดยสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2543

– สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรมอบรางวัลนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ดีเด่น แห่งปี 2541 ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จ ในด้านประกอบอาชีพ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2541

– ได้รับประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นแห่งเอเชีย จากประธานาธิบดีอาโร่โย่ แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซีเนมะนิลา ครั้งที่ 3 สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ

ผลงานคุณภาพและรางวัลแห่งความสำเร็จด้านภาพยนตร์

นั่งแท่นผู้กำกับ (DIRECTOR)

2499 อันธพาลครองเมือง (Dang Bireley’s and the Young Gangsters)

วันฉาย: 11 เมษายน 2540

นำแสดง: เจษฎาภรณ์ ผลดี, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ, ชาติชาย งามสรรพ์, นพชัย มัททวีวงศ์, อรรถพร ธีมากร, แชมเปญ เอ๊กซ์, อภิชาติ ชูสกุล, ปาริชาติ บริสุทธิ์

“2499 อันธพาลครองเมือง” สร้างมาจากบทประพันธ์เรื่อง “เส้นทางมาเฟีย” ของ “สุริยัน ศักดิ์ไธสง” ซึ่งดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” เล่าเรื่องราวการถือกำเนิด, การตั้งตนเป็นใหญ่, การทรยศหักหลัง, การล้างแค้น และจุดจบของเหล่านักเลงอันธพาลวัยรุ่นผู้มีอิทธิพลและครองเมืองในยุคก่อน พ.ศ. 2500

ภาพยนตร์โดดเด่นในด้านงานสร้างและเทคนิคด้านภาพ ทันทีที่ออกฉายก็เกิดกระแสความนิยม การวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหญ่ไปทั่วประเทศ และสามารถสร้างปรากฏการณ์ถล่มรายได้ไปถึง 75 ล้านบาท ถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในยุคนั้น และทลายขนบความเชื่อในการสร้างภาพยนตร์ไทยในรูปแบบเดิม ๆ ลงจนหมดสิ้น อาทิเช่น ไม่จำเป็นต้องใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียง ก็สามารถกวาดรายได้อย่างงดงามได้

แน่นอน มันยังถือเป็นการแจ้งเกิดของนักแสดงหน้าใหม่ล้วน ๆ แบบยกแพ็ค และทุกคนก็ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านบันเทิงให้เป็นที่ประจักษ์มาจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงคำพูดที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมืองอย่าง “เป็นเมียเราต้องอดทน” หรือ “แล้วแต่ปุ๊” ถือเป็นการตอกย้ำอารมณ์ร่วมในภาพยนตร์ที่เกิดกับผู้ชมได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกวดภาพยนตร์อิสระที่ประเทศเบลเยี่ยม

รางวัลการันตี:

- Grand Prize (Best International Film Award) จากเทศกาลภาพยนตร์ Festival International du Film Independent ครั้งที่ 19 ที่กรุงบรัชเซล ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อ พ.ศ. 2536

Grand Prize (Best International Film Award) จากเทศกาลภาพยนตร์ Festival International du Film Independent ครั้งที่ 24 ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อ พ.ศ. 2540

– รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2540

– รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อภิชาติ ชูสกุล) และกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2540

– รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากนิตยสารซีนีแม็ก เมื่อ พ.ศ. 2541

จากเรื่อง นางนาก

-พ.ศ. 2542กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สอง "นางนาก" ภาพยนตร์ที่ทำลายสถิติและทำรายได้ถึง150 ล้านบาทสูงกว่าภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งหมด และกลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย


-รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 44 เมื่อ พ.ศ. 2542


-รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2542


-รางวัลพระสุรัสวดี สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เมื่อ พ.ศ. 2542


-รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์บันเทิง เมื่อ พ.ศ. 2542


-รางวัลThe Most Promising Asian Director จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ประเทศอินเดีย พ.ศ. 2543 ครั้งที่ 31


- รางวัล The Best Asian Film, NETPAC Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ กรุงร็อตเตอร์ดัม ครั้งที่ 29


จากเรื่อง จันดารา


-รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม - สุนิตย์ อัศวินิกุล / ธานินทร์ เทียนแก้ว จาก Star Entertainment Awards 2002


-รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม - ณัฐวุฒิ กิตติคุณ จาก รางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี 2544


-รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม - เอก เอี่ยมชื่น จาก รางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี 2544


-รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม วิภาวี เจริญปุระ จาก รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2544


-รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม,กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม จาก รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2544


อื่น ๆ


- ทำหน้าที่ Producer ให้กับภาพยนตร์ หลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น ...


- ภาพยนตร์ "ฟ้าทะลายโจร" ซึ่งได้รับรางวัล Dragon and Tiger Award จาก Vancouver Film Festival 2000


- ภาพยนตร์ “BANGKOK DANGEROUS” ซึ่งได้รับรางวัล FIPRESCI Award จาก Toronto Film Festival 2000


- ภาพยนตร์ "มนต์รักทรานซิสเตอร์"


- ภาพยนตร์ "เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล" (LAST LIFE IN THE UNIVERSE)


- ภาพยนตร์ "หนูหิ่น เดอะมูฟวี่"

- ภาพยนตร์ "Sideline"


เกียรติคุณที่ได้รับ :


- สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรมอบรางวัลนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ดีเด่น แห่งปี 2541 ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จ ในด้านประกอบอาชีพ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2541


- ได้รับประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นแห่งเอเชีย จากประธานาธิบดีอาโร่โย่แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซีเนมะนิลา ครั้งที่ 3 สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชา

Share this article :

แสดงความคิดเห็น