Home » » นวลฉวี

นวลฉวี


นวลฉวี  ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของคดีสะเทือนขวัญประชาชนในยุคนั้น ที่โด่งดังที่สุดแห่งปีพุทธศักราช 2502 สู่ภาพยนตร์เตือนภัยให้ผู้หญิงพึงระวัง สร้างจากเหตุการณ์สังหาร นางนวลฉวี ราชเดช พยาบาลแห่งโรงพยาบาลยาสูบ เมื่อปี พ.ศ. 2502 เมื่อคุณหมอหนุ่มต้องคดีฆ่าภรรยาของตัวเอง  โดยอำพรางคดี เป็น เรื่องน่าเศร้าที่เรื่องมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเสมอในสังคม ถึงแม้จะมีตัวอย่างให้ดูเป็นอุธาหรณ์เตือนใจ แต่ มนุษย์ก็ยังไม่พ้น จากบ่วงกรรมเหล่านี้เสียที  เชิญชมภาพยนต์ชีวิตยอดเยี่ยมที่ถ่ายทอดชะตา ชีวิตของผู้หญิง คนหนึ่ง ที่ต้องพบชะตากรรมอันน่าเศร้าถึงแม้คดีเธอจะเป็นคดีแรก แต่ ไม่ใช่คดีสุดท้าย

นักแสดงภาพยนตร์เรื่อง นวลฉวี

สินจัย หงษ์ไทย — นวลฉวี  (ได้รับรางวัลดารานำแสดงหญิง พระสุรัสวดี ปี พ.ศ. 2528)
อภิชาติ หาลำเจียก — หมออุทิศ
วิยะดา อุมารินทร์ —  สมสวาท
ไกรลาศ เกรียงไกร — ธวิช
อำนวย ศิริจันทร์ — พ.ต.อ.วิบูลย์
ชลประคัลท์ จันทร์เรือง

**ภาพยนตร์เกียรติยศ 3 ตุ๊กตาทอง ปี 2527

นวลฉวี (2528)
ข้อความบนใบปิด
พูนทรัพย์โปรดักชั่น
โดย วิศิษฐ์ มิ่งวัฒนบุญ อำนวยการสร้าง
ภาพยนตร์เกียรติยศ 3 ตุ๊กตาทองปี 2527
นวลฉวี
สินจัย หงษ์ไทย อภิชาติ หาลำเจียก
ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง, วิยะดา อุมารินทร์, ไกรลาศ เกรียงไกร,
อำนวย ศิริจันทร์, สมควร กระจ่างศาสตร์, ชาลี อินทรวิจิตร,
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สมศักดิ์ ชัยสงคราม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, อดิศักดิ์ เศวตนันท์
บรรจง โกศัลวัฒน์ กำกับฯ
ปัญญา นิ่มเจริญพงษ์ ถ่ายภาพ


*เกร็ด

-ใบปิดวาดโดย บรรหาร

-นวลฉวี คือชื่อภาพยนตร์ไทยที่สร้างและออกฉายในปี พ.ศ. 2528 อ้างอิงเหตุการณ์สังหารนางนวลฉวี เพชรรุ่ง พยาบาลแห่งโรงพยาบาลยาสูบซึ่งผูกสมัครรักใคร่กับอธิป สุญาณเศรษฐกร นายแพทย์โรงพยาบาลรถไฟ แต่อธิปไม่ต้องการผูกพันด้วยและมีผู้หญิงอื่น จึงหลอกหลวง ทำร้าย และที่สุดก็จ้างคนมาฆ่าโยนศพทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงสะพานนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2502 จนภายหลังสะพานนั้นจึงถูกเรียกรู้จักกันในนาม สะพานนวลฉวี

-ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2527 จำนวน 3 รางวัล คือ ผู้แสดงหญิงยอดเยี่ยม(สินจัย เปล่งพานิช-ซึ่งในปีนั้นเธอยังได้รับรางวัลสาขาผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมอีกด้วยจากเรื่อง เพลิงพิศวาส-เท่าที่ทราบไม่เคยมีรางวัลใดในโลกที่นักแสดงจะคว้าทั้งนำและสมทบได้ในปีเดียวกัน!), ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม และ บันทึกเสียงยอดเยี่ยม ทั้งที่ยังไม่ทันเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ด้วยซ้ำ (เริ่มฉายในโรงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2528) และเป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ อภิชาติ หาลำเจียก

Share this article :

แสดงความคิดเห็น