Home » » ศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณ

ศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณ



เริ่มต้นจากการเป็นนักดูหนัง ที่มีความใฝ่ฝันตั้งแต่อายุ 19-20 ปีว่า สักวันจะเป็นผู้กำกับ เพื่อที่จะได้เล่าเรื่องหรือถ่ายทอดเรื่องราวที่ตัวเองอยากจะนำเสนอให้คนอื่นได้ดูกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระเวนดูหนังที่เข้าฉายตามโรงปกติ ไปจนถึงหนังที่หาดูยากตามเทศกาลหรือจากศูนย์วัฒนธรรมหรือสมาคมต่าง ๆ เช่น เกอเธ่, ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น, สมาคมฝรั่งเศส, บริติชเคาน์ซิล, เอยูเอ, โรงหนังอลังการ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของนักดูหนังตัวยงที่ปัจจุบันเพื่อนนักดูหนังตามสถาบันหลายคนกลายมาเป็นผู้กำกับหรือนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน อาทิ มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์, สิทธิรักษ์ ตุลาพิทักษ์, นรา, บก.นิตยสาร BIOSCOPEอย่าง สุภาพ หริมเทพาธิป บ้างก็กลายมาเป็นผุ้กำกับภาพยนตร์ อาทิ ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล, สมเกียรติ วิทุรานิช ตลอดหนึ่งสัปดาห์ก็จะตระเวนดูตามสถาบันเหล่านี้ทุกเย็น พอหนังจบก็มีพูดคุยกันเรื่องหนังบ้าง โดยผู้กำกับในดวงใจอย่าง ฟรังซัวร์ ทรูฟโฟต์, ลีโอ การากซ์ ,ไฉ้หมิงเหลียง, ตู้ฉีฟ่ง

หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้ามาจับงานที่เข้าใกล้ฝันของตัวเองมากขึ้น โดยเริ่มจากการเข้ามาเป็น 1 ในทีมเขียนบทภาพยนตร์รุ่นแรกของอาร์เอสฟิล์มเมื่อทศวรรษที่แล้ว ตั้งแต่ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว”, “เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด” จนกระทั่งได้รู้จัก ประไพพรรณ เหล่ายนตร์ บก.นิตยสารภาพยนตร์ชื่อดังอย่างซีเนแม็ก (CINEMAG) จนได้มีโอกาสเป็นนักเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์อยู่ในกองบรรณาธิการนิตยสารซีเนแม็ก รับผิดชอบเกี่ยวกับสกู๊ปหนังไทย ทำให้ได้รู้จักกับคนในวงการหนังไทยหลายคนเพิ่มมากขึ้น

และที่นี่เองที่ทำให้ ศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณได้เริ่มต้นกลายเป็นคนทำหนังอาชีพ (Filmmaker) เมื่อนิตยสารซีเนแม็กได้จัดประกวดบทหนังสั้นขึ้น จนเป็นที่มาของการเริ่มต้นงานในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ไทย เมื่อบทหนังสั้นเรื่อง สยิว ที่ คงเดช จาตุรันต์รัศมี และเกียรติ ศงสนันท์ เขียนขึ้น เกิดโดนใจ บก. และสนใจที่จะซื้อเรื่องมาทำเป็นหนังยาว แต่ยังไม่รู้ว่าจะให้ใครกำกับ จึงมอบหมายให้ศิวาภรณ์พัฒนาต่อ เธอจึงได้จับมือและร่วมพัฒนาโปรเจ็กต์นี้กับคงเดช และ เกียรติ (ผู้กำกับ สยิว) ให้เป็นหนังใหญ่ขึ้นมา ก่อนที่ในท้ายที่สุดจะเข้าจะเข้าตาปรัชญา ปิ่นแก้ว และเสี่ยเจียง จนกลายเป็นภาพยนตร์ขึ้นมา

หลังจากนั้นเส้นทางการเป็นนักทำหนังอาชีพของศิวาภรณ์ในฐานะโปรดิวเซอร์เริ่มต้นขึ้นอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับอีกหนึ่งทางเลือกของภาพยนตร์ไทยในอีกแง่มุมหนึ่งที่กล่าวได้ว่า แตกต่างจากภาพยนตร์ไทยที่ถูกสร้างในขณะนั้น และก่อกำเนิดผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง “ธนกร พงษ์สุวรรณ” ในภาพยนตร์ที่สะท้อนเรื่องราวของคนเมืองอย่าง FAKE โกหกทั้งเพ”, “เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์”, ตามมาด้วยผลงานการกำกับครั้งที่ 2 ของ คงเดช จาตุรันต์รัศม ีอย่าง เฉิ่ม รวมไปถึงภาพยนตร์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทำโพสต์โปรดักชั่นของทวีวัฒน์ วันทา ผู้กำกับ ขุนกระบี่ ผีระบาด กับการกำกับหนังใหญ่เรื่องที่ 2 ในชีวิตอย่าง “เดอะ สเปิร์ม”

และในปีพ.ศ. 2549 ศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณ พร้อมแล้วกับผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต ที่ถ่ายทอดจากบางส่วนในชีวิตจริงเกี่ยวกับความผูกผันระหว่างคนกับสุนัขอย่าง ข้าวเหนียวหมูปิ้ง

Share this article :

แสดงความคิดเห็น